วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เกล็ดหน้าแข้ง

เกล็ดหน้าแข้ง
ปกติจะมีอยู่2-3แถวการจัดเรียงตัวของเกล็ดหน้าแข้งของไก่จะไม่ค่อยเหมือนกันทุกตัวไปบางตัวจะมีเกล็ดแซม เกล็ดแตก
นักเลงไก่รุ่นก่อนๆ จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะ เช่น
1. เกล็กสองแถวปัดตลอด คือ การเรียงตัวของเกล็ดอีกแบบหนึ่ง โดยที่เกล็ดแถวนอกและแถวในมาพบกันที่แนวกลางของหน้า
แข้ง โดยมันจะไม่สอดประสานกันแต่ จะยกตัวเป็นสันแยกกัน ส่วนตรงกลางหน้าแข้ง จะมองเห็นเป็นร่องเป็นเส้นตรง ลงไป
ถึงระหว่างโคนของนิ้วกลางและนิ้วนอก
2. เกล็ดสามแถวตลอดแข้ง คือ ไก่ที่มีเกล็ดแข้ง 3 แถว สม่ำเสมอตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงนิ้ว 3 โดยเกล็ดแข้งแถวนอกเป็นเกล็ดที่
ต่อมาจากเกล็ดนิ้วนอก ส่วนเกล็ดแถวกลางเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากนิ้วกลาง เกล็ดแข้งแถวในเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วใน
ถ้าหากมีเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วก้อย สูงขึ้นไปถึงเข่าด้วย จะมองเหมือนกับเป็นเกล็ดแถวที่ 4 เรียกว่า เกล็ดเดิมพัน
3. เกล็ดวันทองห้ามทัพ คือเกล็กแซมตรงกลางระหว่างเกล็ดหน้าแข้งทั้ง2แถวนับจากใต้เดือยลงมาแล้วไปตกลงช่องระหว่างนิ้ว
กลางและนิ้วนอกเป็นทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
4. เกล็ดหนุมานประสานมือ คือเกล็ดหน้าแข้งมี2แถวเรียงตัวสอดแทรกสลับกันเกล็ดแข้งทุกๆเกล็ดจะต้องหนาและนูนถ้ามีรอย
บุ๋มตรงกลางของเกล็ดแสดงว่าใช้ไม่ได้
5. กำไลใต้เดือย 3 เกล็ด คือ มีเกล็ดกำไลอยู่ใต้เดือย 3 เกล็ด มีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
6. กำไลทั้งแข้งมีเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้ง เป็นเกล็ดใหญ่เกล็ดเดียว แต่ต้องมีเดือย ต้องเป็นทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วไก่ที่มี
กำไลทั้งแข้งมักเป็นไก่เดือยคุด
7. กำไลตรงเดือย 1 เกล็ด ถ้ามีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
8. เกล็ดเสือซ่อนเล็บ คือ เมื่อให้ไก่ยืนเต็มเท้า เกล็ดนิว้กลางเกล็ดแรกจะถูกเกล็ดสุดท้ายของหน้าแข้งบังจนมิด หรือเกล็ดที่ 2 จะ
ถูกเกล็ดแรกบังจนมิด ทำใเหมือนกับว่าเกล็ดหายไป 1 เกล็ด
9. เกล็ดจักรนารายณ์ คือ เกล็ดนิ้วทุกนิ้ว ทั้งข้างซ้ายและขวา แตกและแซมทุกๆนิ้ว รวมทั้งนิ้วก้อยจะดีมาก
10. เกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง เป็น เกล็ดเล็กๆเป็นแถวแทรกอยู่ระหว่างเกล็ดเดิมพันและเกล็ดนำเดือย ไก่บางเหล่ามีเกล็ดเดิมพัน
ต่ำและไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสาร ท้องแข้งแต่เป็นตุ่มคล้ายหนังแข็งๆ สีแดงลักษณะเช่นนี้ไม่ดี แต่ถ้าเป็นเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง
เป็นเกล็ดเล็กๆ นูนปูด ลูบดูสากมือ ลักษณะเช่นนี้ดี แข้งคม ไก่บางตัว อาจไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง บางตัว มีแถวเดียว
บางตัวมี 2 แถว หรือบางตัวเป็นเกล็ดแข้งละเอียด
11. เกล็ดเดิมพัน คือ เป็นแถวของเกล็ดท้องแข้งที่เรียงเบียดอยู่กับเกล็ดหน้าแข้งแถวใน จะเริ่มต่อจากเกล็ดโคนของนิ้วก้อย พาด
อ้อมด้านในของเดือยไปทางด้านหน้า ไปหาเกล็ดแข้งแถวในเรียงเบียดเกล็ดหน้าแข้งแถวในขึ้นไปจนถึงหัวเข่าเกล็ดนี้จะมีแนว
ยาวไม่เท่ากันบางตัวต่ำกว่าเดือยก็ไม่มีเกล็ดแล้วลักษณะนี้ไม่ดีบางตัวเท่ากับ เดือยบางตัวอาจจะเลยขึ้นไปสูงกว่าเดือยเล็กน้อย
ลักษณะเช่นนี้พอใช้บางตัวเลยไปถึงหัวเข่าจะดีมากเกล็ดเดิมพันนี้ยิ่งขึ้นสูงยิ่งดีเกล็ดเรียงเบียดติดต่อกันสูงถึงเข่าดีที่สุด
12. เกล็ดตรงเดือย หรือ เกล็ดนำเดือย(เกล็ดอัน) คือ แถวของเกล็ดที่ขึ้นเริ่มจากเดือยไปหาหัวเข่า เกล็ดนี้จะอยู่กึ่งกลางของท้อง
แข้ง ยิ่งเป็นแถวตรงและขึ้นสูงถึงเข่า ยิ่งดี ห้ามมีเกล็ดแทรก เกล็ดขัดเด็ดขาด ลักษณะของเกล็ดควรจะนูนปูด ห้ามบุ๋ม เป็นทั้ง 2
ข้างเหมือนกันยิ่งดี เป็นเกล็ดมาตรฐานมักชนะ เกล็ดนี้จะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ไก่บางตัวจะมีเกล็ดเล็กๆอยู่ใต้เดือย 1 เกล็ด
เรียกว่าเกล็ดรองเดือย ส่วนไก่ที่มี 4 เดือย หรือเดือยแฝด อาจมีเกล็ดเหนือเดือย หรือเกล็ดรองเดือยยาวขึ้นมาเป็นเหมือนกับเดือย
ก็ได้
13. ดอกจันทน์หน้าเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้งในที่อื่นเป็นเกล็ด 2 แถว แต่ที่หน้าเดือยเป็นเกล็ด 3 แถว เกล็ดใหญ่พอๆกันทั้ง
3 แถว ทำให้มองเห็นเป็นรูป ดอกจันทน์6กลีบใหญ่เท่าๆกัน ถ้ามีทั้ง2ข้างยิ่งดีหรือที่หน้าเดือยมีเกล็ดเล็กๆเรียงตัวอยู่เป็นรูปดอก
จันทน์ 6 กลีบ หรือ 5 กลีบ ถ้ามีทั้ง 2 ข้างยิ่งดีลักษณะเช่นนี้ ตีเจ็บ ไก่ชนไม่ว่าลักษณะแข้งจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถ
ยืนยันได้เท่าใดนักว่าจะตีเจ็บหรือไม่ เกล็ดเป็นเพียงส่วนประกอบของแข้งไก่เท่านั้น
ปกติจะมีอยู่2-3แถวการจัดเรียงตัวของเกล็ดหน้าแข้งของไก่จะไม่ค่อยเหมือนกันทุกตัวไปบางตัวจะมีเกล็ดแซม เกล็ดแตก
นักเลงไก่รุ่นก่อนๆ จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะ เช่น
1. เกล็กสองแถวปัดตลอด คือ การเรียงตัวของเกล็ดอีกแบบหนึ่ง โดยที่เกล็ดแถวนอกและแถวในมาพบกันที่แนวกลางของหน้า
แข้ง โดยมันจะไม่สอดประสานกันแต่ จะยกตัวเป็นสันแยกกัน ส่วนตรงกลางหน้าแข้ง จะมองเห็นเป็นร่องเป็นเส้นตรง ลงไป
ถึงระหว่างโคนของนิ้วกลางและนิ้วนอก
2. เกล็ดสามแถวตลอดแข้ง คือ ไก่ที่มีเกล็ดแข้ง 3 แถว สม่ำเสมอตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงนิ้ว 3 โดยเกล็ดแข้งแถวนอกเป็นเกล็ดที่
ต่อมาจากเกล็ดนิ้วนอก ส่วนเกล็ดแถวกลางเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากนิ้วกลาง เกล็ดแข้งแถวในเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วใน
ถ้าหากมีเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วก้อย สูงขึ้นไปถึงเข่าด้วย จะมองเหมือนกับเป็นเกล็ดแถวที่ 4 เรียกว่า เกล็ดเดิมพัน
3. เกล็ดวันทองห้ามทัพ คือเกล็กแซมตรงกลางระหว่างเกล็ดหน้าแข้งทั้ง2แถวนับจากใต้เดือยลงมาแล้วไปตกลงช่องระหว่างนิ้ว
กลางและนิ้วนอกเป็นทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
4. เกล็ดหนุมานประสานมือ คือเกล็ดหน้าแข้งมี2แถวเรียงตัวสอดแทรกสลับกันเกล็ดแข้งทุกๆเกล็ดจะต้องหนาและนูนถ้ามีรอย
บุ๋มตรงกลางของเกล็ดแสดงว่าใช้ไม่ได้
5. กำไลใต้เดือย 3 เกล็ด คือ มีเกล็ดกำไลอยู่ใต้เดือย 3 เกล็ด มีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
6. กำไลทั้งแข้งมีเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้ง เป็นเกล็ดใหญ่เกล็ดเดียว แต่ต้องมีเดือย ต้องเป็นทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วไก่ที่มี
กำไลทั้งแข้งมักเป็นไก่เดือยคุด
7. กำไลตรงเดือย 1 เกล็ด ถ้ามีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
8. เกล็ดเสือซ่อนเล็บ คือ เมื่อให้ไก่ยืนเต็มเท้า เกล็ดนิว้กลางเกล็ดแรกจะถูกเกล็ดสุดท้ายของหน้าแข้งบังจนมิด หรือเกล็ดที่ 2 จะ
ถูกเกล็ดแรกบังจนมิด ทำใเหมือนกับว่าเกล็ดหายไป 1 เกล็ด
9. เกล็ดจักรนารายณ์ คือ เกล็ดนิ้วทุกนิ้ว ทั้งข้างซ้ายและขวา แตกและแซมทุกๆนิ้ว รวมทั้งนิ้วก้อยจะดีมาก
10. เกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง เป็น เกล็ดเล็กๆเป็นแถวแทรกอยู่ระหว่างเกล็ดเดิมพันและเกล็ดนำเดือย ไก่บางเหล่ามีเกล็ดเดิมพัน
ต่ำและไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสาร ท้องแข้งแต่เป็นตุ่มคล้ายหนังแข็งๆ สีแดงลักษณะเช่นนี้ไม่ดี แต่ถ้าเป็นเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง
เป็นเกล็ดเล็กๆ นูนปูด ลูบดูสากมือ ลักษณะเช่นนี้ดี แข้งคม ไก่บางตัว อาจไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง บางตัว มีแถวเดียว
บางตัวมี 2 แถว หรือบางตัวเป็นเกล็ดแข้งละเอียด
11. เกล็ดเดิมพัน คือ เป็นแถวของเกล็ดท้องแข้งที่เรียงเบียดอยู่กับเกล็ดหน้าแข้งแถวใน จะเริ่มต่อจากเกล็ดโคนของนิ้วก้อย พาด
อ้อมด้านในของเดือยไปทางด้านหน้า ไปหาเกล็ดแข้งแถวในเรียงเบียดเกล็ดหน้าแข้งแถวในขึ้นไปจนถึงหัวเข่าเกล็ดนี้จะมีแนว
ยาวไม่เท่ากันบางตัวต่ำกว่าเดือยก็ไม่มีเกล็ดแล้วลักษณะนี้ไม่ดีบางตัวเท่ากับ เดือยบางตัวอาจจะเลยขึ้นไปสูงกว่าเดือยเล็กน้อย
ลักษณะเช่นนี้พอใช้บางตัวเลยไปถึงหัวเข่าจะดีมากเกล็ดเดิมพันนี้ยิ่งขึ้นสูงยิ่งดีเกล็ดเรียงเบียดติดต่อกันสูงถึงเข่าดีที่สุด
12. เกล็ดตรงเดือย หรือ เกล็ดนำเดือย(เกล็ดอัน) คือ แถวของเกล็ดที่ขึ้นเริ่มจากเดือยไปหาหัวเข่า เกล็ดนี้จะอยู่กึ่งกลางของท้อง
แข้ง ยิ่งเป็นแถวตรงและขึ้นสูงถึงเข่า ยิ่งดี ห้ามมีเกล็ดแทรก เกล็ดขัดเด็ดขาด ลักษณะของเกล็ดควรจะนูนปูด ห้ามบุ๋ม เป็นทั้ง 2
ข้างเหมือนกันยิ่งดี เป็นเกล็ดมาตรฐานมักชนะ เกล็ดนี้จะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ไก่บางตัวจะมีเกล็ดเล็กๆอยู่ใต้เดือย 1 เกล็ด
เรียกว่าเกล็ดรองเดือย ส่วนไก่ที่มี 4 เดือย หรือเดือยแฝด อาจมีเกล็ดเหนือเดือย หรือเกล็ดรองเดือยยาวขึ้นมาเป็นเหมือนกับเดือย
ก็ได้
13. ดอกจันทน์หน้าเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้งในที่อื่นเป็นเกล็ด 2 แถว แต่ที่หน้าเดือยเป็นเกล็ด 3 แถว เกล็ดใหญ่พอๆกันทั้ง
3 แถว ทำให้มองเห็นเป็นรูป ดอกจันทน์6กลีบใหญ่เท่าๆกัน ถ้ามีทั้ง2ข้างยิ่งดีหรือที่หน้าเดือยมีเกล็ดเล็กๆเรียงตัวอยู่เป็นรูปดอก
จันทน์ 6 กลีบ หรือ 5 กลีบ ถ้ามีทั้ง 2 ข้างยิ่งดีลักษณะเช่นนี้ ตีเจ็บ ไก่ชนไม่ว่าลักษณะแข้งจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถ
ยืนยันได้เท่าใดนักว่าจะตีเจ็บหรือไม่ เกล็ดเป็นเพียงส่วนประกอบของแข้งไก่เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อื่น ๆ

..

ไก่พม่า







ไก่ป่าก๋อย

ไก่ป่าก๋อย
เป็นไก่ชนสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อกรกับไก่พม่าโดยตรงชั้นเชิงของไก่ป่าก๋อยนั้น ปัจจุบันจะมีชั้นเชิงหลักๆอยู่ 2
ชั้นเชิง คือเชิงบนและเชิงล่างไก่ป่าก๋อย
เชิงบนนั้นจะวิ่งเข้าเร็วแต่หัวจะไม่ต่ำปากเร็วไม่เลือกที่ ลำโตส่วนไก่ป่าก๋อยเชิงล่าง นั้นหัวจะต่ำแทบติดสังเวียน เลยทีเดียวเพื่อ
หลบแข้งปล่าวอาวุธฉกาจของไก่พม่า
การบุกของไก่ป่าก๋อยจะบุกเร็วมากจนไก่พม่า ตั้งตัวแทบไม่ติดถิ่นกำเนิดของไก่ป่าก๋อยอยู่ที่บ้านป่าก๋อยป่ารกฟ้าและหมู่บ้าน
ใกล้เคียง ต.น้ำดิบ อ.ป่า จ.ลำพูน ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธ์ ออกไปมากพอสมควรส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในทางภาคเหนือเป็นส่วน
มาก เนื่องจากไก่ป่าก๋อยเป็นไก่รอยเล็ก
ไก่ป่าก๋อยมีสีที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คือ มีลักษณะสีเลา ต้องมีเลาขาวแซมตามสร้อย หางขาวเช่น เหลือง
เลาหางขาวเขียวเลาหางขาวเป็นต้นมีกระขาวแซมตามหัว และ ส่วนต่างๆบางตัวได้ ลักษณะพระเจ้า 5 พระองค์ คือ มีจุดขาว 5
ตำแหน่ง หัว 1 ปีก 2ข้อขา 2 จุด ลำดับต่อมาก็ดูที่รูปร่าง ไก่ป่าก๋อยจะมีลักษณะเตี้ย ล่ำ เป็นไก่รอยเล็ก มีน้ำหนักตั วประมาณ 2.0 -
2.9กิโลกรัมหงอนส่วนใหญ่จะเป็นหงอนหินรูปร่าง กลมมนผิวหงอน เกลี้ยงเล็กกระทัดรัดหางของไก่ป่าก๋อยส่วนใหญ่จะเป็น
ไก่หาง ขาว ก้านหางแข็งหางพุ่งตรงปลายหางแหลม (หางเข็ม)ลักษณะหางสีขาวก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะประจำสาย พันธุ์ที่เด่นชัด
ไก่ป่าก๋อยดั้งเดิมจะเป็นไก่เชิง มุด มัด กัดตีไม่เลือก มีทั้งวิ่งจุ่มหน้ากระเพาะเจอตรงไหนตีตรงนั้นชนิดปากถึงตีนถึง หรือ
บางตัวอาจวิ่งดันพาดบน กัดบ่าตีตัวตีซอก ตีหนักหน่วง ถอนขนจัด ไก่ป่าก๋อยเวลาเข้าทำจะเข้าหัวต่ำ หัวแทบติดพื้นทำให้สามารถ
หลบแข้งหน้าของไก่ชนพม่าได้ จึงได้ถูกขนาน นามว่า"มือปราบพม่า"
เพราะมันเป็นไก่ปากบอน จิกไม่เลือกที่ตีไม่รอท่าไม่สนใจหาหัวไก่เจอบ่าเจอหลังเจอไหล่เป็นต้องคาบตีทันที ก้าบตีหัวตีตัวตี
หลังแม้กระทั่งสีข้าง และตูดถ้าเข้าไม่ทันก็เสร็จไก่พม่า ถ้าเข้าทันก็เสร็จไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่มีลีลาการชนที่ดุดัน รวดเร็ว ว่องไว ปากถึงตีนถึงเรียกว่าปากแตะเป็นบินวิ่งมุดเข้าปีกซ้ายปีกขวา ประชิดตัวคู่
ต่อสู้ตลอดเวลา กัดไม่เลือกที่ตี ไม่รอท่าคว้าได้เป็นดีดตีตัว ตีซอก ตีหลัง ตีหัวแม้กระทั่งสีข้าง เป็นไก่ปากบอนฆ้อนหนัก ( ลำโต )
ค้าบถอนขนจัด ถ้าเจอไก่ที่ค้าบจัดๆ แค่อันแรกคู่ต่อสู้ก็ขนกระจุยแล้ว
จุดเด่นของไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่เชิงจัด ลีลาแพรวพราวลื่นไหลไม่สะดุด
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่มีความรวดเร็ว คล่องแคล่วเข้าทำเชิงได้ดี
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่ตีแผลตัว แผลสามเหลี่ยมได้ดี
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ที่เบียด ดัน มุด มัด ประชิดตัวคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ค้าบจัด กัดตีไม่เลือกที่ซึ่งเป็นจุดเด่นพิเศษของไก่ป่าก๋อยอย่างแท้จริง
จุดอ่อนของไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่เชิงล่าง ชนหัวต่ำ ถ้าเดินไม่เร็วเลี้ยงไม่แข็งจะกลายเป็นเป้าให้คู่ต่อสู้ที่ตีตีนเตี้ยเก่งๆ
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่เชิงจัดจึงต้องใช้แรงมากในการเข้าทำเชิงเพราะต้องเข้าทำเร็วถ้าแรงหมดก็จะไม่สามารถบดบี้ ตีคู่ต่อสู้ได้
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ที่ตีไม่เลือกที่ หรือตีหลายแผล ตีแบบสะสมไปเรื่อย ไม่เน้นแผลเดียว ส่วนใหญ่ตีแผลหนา ทำให้น๊อคคู่ต่อสู้ได้ช้า
การทำไก่เหล่าป่าก๋อยรอยโต
เนื่องจากไก่เหล่าป่าก๋อยเป็นไก่ขนาดเล็ก รูปร่างเตี้ยล่ำ น้ำหนักราว 2.2 - 2.9 ก.ก. จากข้อจำกัดในเรื่องขนาด ทำให้ไก่ไทย
ภาคเหนือ สายพันธุ์นี้ ไม่สามารถนำไปตีในภาคอื่นได้
การที่จะทำให้ไก่เหล่าป่าก๋อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและเก่ง สามารถทำได้ดังนี้
Bitmap
เลือกแม่พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ โครงสร้างดี จับยาวสองท่อน เลือกได้ใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี เพราะแม่ใหญ่ให้ลูกใหญ่แน่นอน

Bitmap
พ่อพันธุ์ไม่จำเป็นต้องใหญ่ ให้เลือกเอาตัวที่ฝีตีนจัดจริงๆ เชิงและแผลตีควรเป็นเชิงเดียวกับตัวเมียที่เราจะผสมด้วย (พ่อเล็กแม่
ใหญ่ สามารถให้ลูกใหญ่ได้ เทคนิคนี้ใช้กันแพร่หลายตามฟาร์มไก่เหล่าป่าก๋อยและไก่พม่า) สาเหตุที่ไม่เลือกพ่อพันธุ์ที่มีขนาด
ใหญ่เพราะ ไก่เหล่าป่าก๋อยรอยใหญ่ฝีตีนจะไม่ค่อยจัดเท่าไก่เหล่าป่าก๋อยรอยเล็ก และหลายคนเชื่อว่าไก่เหล่าป่าก๋อยตอนหนุ่มที่
มีขนาดเกิน 3 ก.ก. จะให้ลูกไม่ค่อยเก่ง ไม่ควรนำมาเป็นพ่อพันธุ์
Bitmap
ลูกไก่แรกเกิดถึง 2 เดือน ควรให้หัวอาหารหมูอ่อนผสมกับปลายข้าว

Bitmap
ลูกไก่อายุ 2 เดือน ถึง 5 เดือน ควรให้หัวอาหารหมูอ่อนผสมข้าวกล้องและข้าวเปลือก หลังจาก 5 เดือนไปแล้วต้องงดให้หัว
อาหารหมูอ่อน เพราะจะทำให้ลูกไก่อ้วนเกินไปและอาจจะขาอ่อนได้

Bitmap
ลูกไก่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรให้หัวอาหารไก่ชนผสมข้าวเปลือกและข้าวกล้องในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
รับรองว่าได้ไก่เหล่าป่าก๋อยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแน่นอน
การให้หัวอาหารหมูอ่อนและอาหารไก่ชนบางคนอาจกลัวว่าจะทำให้ไก่ขาอ่อน ถ้าเราให้ในปริมาณที่พอเหมาะ ให้ไม่
เกิน 5 เดือนและมีส่วนผสมของข้าวเปลือกและข้าวกล้องปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (ไม่ขังไก่) รับรองครับว่าไม่เสียไก่แน่นอน
ถ้าจะมีอาการก็แค่ปล้ำครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้นก็ปกติครับ
การเลี้ยงไก่เหล่าป่าก๋อยออกชน
ไก่เหล่าป่าก๋อยพอเริ่มหนุ่มให้เน้นการปล้ำเป็นหลัก ปล้ำไปเรื่อยๆ ให้แข็ง เพราะไก่เหล่าป่าก๋อยต้องใช้แรงเยอะ ทั้งเบียดทั้งยัด
หรือบางครั้งต้องลงแบก ดั้ม ถ้าเลี้ยงไม่แข็งโอกาสหมดแรงก็มีเยอะ ต้องปล้ำให้ได้หน้าอย่างน้อย 10 อัน ถึงจะเลี้ยงออกชนได้
การเลี้ยงต้องเลี้ยงเป็นเดือน เน้นการลงนวมสลับกับการล่อวิ่ง ไก่หนุ่มก็ลงนวม 10 นาที แล้วให้วิ่งสุ่ม ถ้าเป็นไก่ถ่ายก็ลงนวม 10
นาที 2 ยก แล้วให้วิ่งสุ่ม วันต่อมาก็ให้ล่อวิ่งประมาณ 30 นาที แล้วให้วิ่งสุ่ม ทำอย่างนี้สลับกันจนใกล้วันออกชนก็ให้ไก่พักประ
มาณ 3 วันเพื่อให้ไก่ได้ผ่อนคลาย หลังจากนั้นก็เอาไก่ออกชนได้เลย
ลักษณะไก่เหล่าป่าก๋อยของจริง
ไก่เหล่าป่าก๋อยมีสีที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คือ มีลักษณะสีเลา ต้องมีเลาขาวแซมตามสร้อย หางขาว เช่น เหลืองเลาหางขาว
เขียวเลาหางขาว เป็นต้น มีกระขาวแซมตามหัวและส่วนต่างๆ บางตัวได้ลักษณะพระเจ้า 5 พระองค์ คือ มีจุดขาว 5 ตำแหน่ง
หัว 1 ปีก 2 ข้อขา 2

ไก่ขาว - ขาวชี

ประวัติความเป็นมา เป็นไก่ขนสีขาวปลอดทั้งตัว เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์จากไก่พื้นเมืองไทยเลาหางขาว เมื่อนำพ่อพันธุ์ขนสีขาวผสมกับแม่พันธุ์ขนสีขาว ลูกที่ได้ขนสีขาวสวยงาม เป็นไก่พื้นเมืองไทยที่เรียกขานกันว่า “ไก่ชี” ไม่ปรากฏว่าเป็นไก่ที่สำคัญของบุคคลใดในประวัติศาสตร์
แหล่งกำเนิด พบได้ทั่วไปทั้งบริเวณภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ภาคกลางแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบุรี และภาคตะวันออกแถบจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ระยอง และจันทบุรี ประเภท ไก่ชี เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ประมาณ 3.00 – 3.50 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล ลักษณะลูกไก่ ขน ปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลือง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่ชี เป็นไก่สูงใหญ่สง่างาม ไหล่กว้าง ลำตัวยาวจับ 2 ท่อน อกกว้าง บั้นท้ายกว้าง กระดูกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ยาวแข็งแรง แข้งกลม หางยาว สง่างาม
ปีก ปีกใหญ่ ยาวถึงก้น สีขาวตลอด
ใบหน้า แหลม เกลี้ยงเกลาและกลมกลึงแบบหน้านกยูง
ตะเกียบ แข็งแรงและชิด ปลายโค้งเข้าหากัน
ปาก ใหญ่ งองุ้ม มีร่องปาก สีขาวอมเหลือง
หาง หางพัดยาว เรียงเป็นระเบียบจากล่างขึ้นบนทั้งสองข้างเท่ากัน หางกระรวยยาวพุ่ง ตรงปลายโค้งลงเล็กน้อยจรดพื้น รับกับพวงหางเป็นฟ่อน
จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
แข้งขา บั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งยาว เล็กกลมแบบลำหวาย
ตา ขอบตารูปตัววี ดวงตาสีเหลือง
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้ง เรียงกันเป็นระเบียบ สีขาวอมเหลืองรับกับปาก
หงอน หงอนหิน ท้ายหงอนกดกระหม่อม สีแดงสดใส
นิ้ว นิ้วกลมยาว ปลายเรียว มีท้องปลิงชัดเจน
หู ตุ้มหู รูหูกลมมีขนปิดหูสีขาว ตุ้มหูรัดตึงสีแดงสด
เดือย โคนใหญ่มั่นคง สีรับกับปากและแข้ง
หนียง รัดติดกับคาง สีแดงสดใส
ขน ขนลำตัว และใต้ปีกสั้นแน่น สร้อยคอ สร้อยปีก และสร้อยหลัง ละเอียดปลายแหลมเล็กสีขาวตลอด
กระโหลก กลมกลึงยาวสองตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนหลัง มีรอยไขหัวตามชาติชัดเจน
กริยาท่าทาง ไก่ชี เป็นไก่สวยงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง ท่าทางก็เฉกเช่นไก่ชนทั่วไป องอาจ สง่างาม ยืนตรง อกตั้งหางพุ่ง
คอ คอใหญ่ ยาวมั่วคง กระดูกปล้องคอถี่ ชิด แน่น ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่า
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ลักษณะเช่นเดียวกับไก่ชนเพศเมียทั่วไป แต่มีขนสีขาวตลอดทั้งตัว

นกแดงหางแดง

ประวัติความเป็นมา ตามประวัติ ไก่นกแดงของพระยาศรีไสยณรงค์ ชนมา 6 ครั้ง ไม่เคยแพ้ใคร ทำให้เจ้าของสายพันธุ์ (ขุนฤทธิ์ปูพ่าย) สมัยเป็นทหารในสมเด็จพระมหินทราธิราชได้กินเหล้า จนเกิดอาการมึนเมา แล้วท้าสู้กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยไม่รู้จักกันมาก่อน ต่อมาภายหลังได้มาเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แหล่งกำเนิด สายพันธุ์ไก่นกแดงเป็นไก่พันธุ์แท้ มีอยู่ทั่วไปในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสยณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึก หรือพระยาไชยบูลย์ ผู้น้ำไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงไก่นกแดงจะพบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และพัทลุง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ลำตัวกลม ไหล่หนา และใหญ่ หางทรงฟ่อนข้าวหรือทรงหางม้า
ปีก ปีกใหญ่ ยาว เป็นลอนเดียว ไม่โหว่แบ่งสองตอน ขนปีกสีแดง สร้อยปีสีแดงสดสีเดียวกับสร้อยคอ และสร้อยหลัง
ใบหน้า กลมกลึง แบบหน้านกกา
หาง หางพัด หางกระรวย ก้านหางสีแดง หางเป็นรูปหางม้า
ปาก ปากใหญ่ โคนปากมั่นคง มีร่องน้ำ 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย
กระปุกน้ำมัน กระปุกน้ำมันเดี่ยว
จมูก จมูกสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งเรียกกลมแบบลำเทียน ขนปั้นขาสีแดงแข้งสีเหลืองอมแดงรับกับสีปาก
ตา ขอบตา 2 ชั้น แบบตาวัว ดวงตาแจ่มใส สีแดง มีเส้นเลือดในดวงตาเห็นชัดเจน
เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว สีเหลืองอมแดง เป็นเกล็ดปัดตลอด
หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก โค้งกลางกระหม่อม
นิ้ว นิ้วเรียว ยาว เกล็ดนิ้วสีเหลืองออมแดงรับกับสีแข้ง
หู ตุ้มหู ตุ้มหูตัดไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีแดง สีเดียวกับสร้อยคอ
เดือย เป็นเดือยงาช้าง สีเหลืองอมแดงรับกับปาก และแข้ง
กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวเห็นชัดเจน
ขน ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ก้านขนสีแดง
คอ คอเป็นรูปคอม้า ปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอสีแดง รับกับสร้อยหลังและสร้อยปีก
กริยาท่าทาง ไก่นกแดงเป็นไก่สกุลเดียวกับไก่ทองแดง ไก่นกกด มองไกลๆ คล้ายกัน เป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง ทาทางสง่างาม มีชั้นเชิงดี
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ขนบริเวณลำตัวมีสีแดงเหมือนตัวผู้เพียงแต่สีไม่แดงเข้มเท่า ปาก แข้ง เล็บสีเหลืองอมแดงเหมือนตัวผู้
สายพันธุ์ไก่นกแดงมี 4 สายพันธุ์ คือ 1.1.แดงชาด เป็นสีแดงเข้มหรือแดงนกแก่ดั่งสีชาด ขนพื้นลำตัว ตั้งแต่หน้าอก ท้องใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดงเข้ม ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงเข้มเหมือนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงเข้มสดใส เป็นมัน ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.2.แดงทับทิม เป็นสีแดงสดใส สีอ่อนกว่าสีแดงชาด ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอ ใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยเป็นสีแดงแบบสีพื้นลำตัว สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงสดใสขึ้นเงา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.3.แดงเพลิง หรือ บางแห่งเรียก แดงตะวัน เป็นสีอ่อนกว่าแดงทับทิม สีจะไปทางสีแสดหรือสีแดงอมเหลือง ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงแบบขนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูมีสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.4.แดงนาก เป็นสีแดงคล้ำๆ แบบสีตัวนาก ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดงนาก ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดง ปาก แข้ง เดือยสีเหลืองอมแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีแดงออกมัน ตาสีแดง

ลายหางขาว

ประวัติความเป็นมา ไก่ลายหางขาว เป็นไก่พันธุ์แท้มาแต่สมัยสุโขทัย จัดเป็นไก่เก่งทางภาคเหนือที่เราเรียกกันว่า ไก่เบี้ยหรือไก่ข่อย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายทรงโปรดไก่เบี้ยหรือไก่ลายหางขาวมาก เคยใช้ชนไก่กับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งไก่ลายในปัจจุบันมีสีคล้ายๆ ไก่บาร์พลีมัทร็อคของต่างประเทศ
แหล่งกำเนิด ไก่ดี ไก่ดัง ครั้งโบราณเป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย พะเยา ในภาคอีสาน พบที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ในภาคกลาง และภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครศรีธรรมราช ประเภท เป็นสายพันธุ์ไก่ชน น้ำหนักตัว เพศผู้ประมาณ 3.00 – 4.00 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ ไข่สีขาวอมน้ำตาล หรือที่เรียกว่าสี่ไข่ไก่ ลักษณะลูกไก่ ขนสีดำมอๆ หน้าอกขาว หัวจะมีจุดขาว ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่ลายหางขาว ขนพื้นตัวลายตลอด ขนปีก ขนหางพัดลายเหมือนขนพื้นตัว ขนหางกระรวยสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีลาย ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง
ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็ง หนา ตรงและชิด
ใบหน้า กลมกลึง หน้าแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
หาง หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบ หางพัดลายเหมือนพื้นตัว หางกระรวยคู่กลางสีขาวปลอดคู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีขาวอมเหลือง ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาลาย แข้งเป็นรูปลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก
จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น ลูกตากลางสีดำ ตารอบนอกสีเหลือง เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
นิ้ว นิ้วเรียวยาว เป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
หงอน หงอนเล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
เดือย เดือยตรงแกนใหญ่ ปลายโค้งงอนไปตามนิ้วก้อย แข็งแรงมั่นคง สีเดียวกับปาก
หู ตุ้มหู ขนปิดรูหูมีลายเหมือนขนสร้อย
ขน ขนพื้นตัวลาย ขนปีก ขนหางพัดลาย ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย
เหนียง เหนียงเล็ก สีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
เล็บ มั่นคง สีเดียวกับเกล็ด แข้งและปาก
กระโหลก กะโหลกหัวยาวกลมเป็น 2 ตอน ท่อนหน้าเล็กกว่าท่อนหลัง
สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีลายแตกต่างกันไปตามเฉดสี
คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิด ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบ
กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่อันเดียว
ปีก ปีกลาย สร้อยคอ สร้อยปีก ส่วนหลังลาย
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญ คือ ขนพื้นตัวสีดำสลับขาว คล้ายไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค หางยาวดำสลับขาว ปากมั่นคง สีปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลือง
สายพันธุ์ไก่ลายหางขาว มีอยู่ 7 เฉดสี คือ 1. ลายลูกข่อย ขนสร้อยลายสีขาวสลับเหลืองแบบสีลูกข่อยสุก 2. ลายลูกหวาย ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแบบลูกหวายสุก 3. ลายดอกอ้อ ขนสร้อยสีลาย สีเทาอ่อน แบบดอกอ้อ ดอกพง 4. ลายข้าวตอก ขนสร้อยลายสีขาวแบบหอยเบี้ย 5. ลายนกกระทา ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแบบนกกระทา 6. ลายกาเหว่า ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแก่สลับดำ 7. ลายเบี้ย ออกขาวปนเทา
ทั้ง 7 เฉดสีนี้ถือว่าเป็นไก่ลายหางขาวทั้งหมด ตัวที่นิยมคือ ลายเหลือง ลายขาว ลายน้ำตาล เรียกว่า สีลายข่อย ลายเบี้ย ลายกาเหว่า นั่นเอง

ทองแดงหางดำ


ประวัติความเป็นมา ไก่ทองแดง เป็นไก่ไทยพันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้สมัยอยุธยา ตอนฉลองกรุงหงสาวดี จัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้งยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระเอกาทศรถ นำไก่ชนไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วย ไก่ทองแดงหางดำได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย (จากนิยายประวัติศาสตร์ยุพราชดำโดยจอมราชันย์)
แหล่งกำเนิด ไก่ทองแดงหางดำมีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่วๆ ไป ไก่ดังในอดีตพบที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา และ ชลบุรี เป็นต้น ประเภท ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้ประมาณ 3.00 – 3.50 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอมแดง ลักษณะลูกไก่ ขนสีแดงทั้งตัวเหมือนไก่โร๊ดไอแลนด์แดง ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีแดงอ่อน ตาสีแดงอ่อน
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่ทองแดงหางดำมีรูปร่างทะมัดทะแมง ทรงหัวปลีกล้วย ช่วงไหล่กว้าง อกเป็นมัดมีกล้ามเนื้อ ลำตัวยาวจับกลม 2 ท่อนไหล่หน้าใหญ่บั้นท้ายโตปั้นขาใหญ่แข็งแรง หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า
ปีก ใหญ่ และยาว ขนปีกเรียบเป็นระเบียบ ไม่มีช่องโหว่ ขนไชปีกจะมีสีดำ แน่น ขนปีกในสีแดงเหมือนขนพื้นตัว
ใบหน้า แหลมกลมอูมแบบหน้านกยูง
ตะเกียบ หนา แข็งแรง ตรง ปลายชิดกัน
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง
หาง หางพัด ปลายมนกลม สีดำ ยาวไม่ต่ำกว่า 1 คืบ หางกระรวยเส้นเล็กกว่าหางพัด ปลายแหลมยาวไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต หางกระรวยเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า กระเบนหางใหญ่ชิดกับกระดูกสันหลัง กระปุกน้ำมันใหญ่เป็นกระปุกเดี่ยว
จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับ ปาก รูจมูกกว้าง
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน มีขนสีแดงขึ้นเต็มข้อขา แข้งมีสีเหลืองอมแดงแข้งกลมแบบลำหวายหรือลำเทียน
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี มีขอบตา 2 ชั้น ดวงตาสีแดง มีประกายแจ่มใส คิ้วขอบตานูนรับกับตา
เกล็ด เกล็ดเป็นเกล็ดพัดใหญ่ๆ เรียงเป็นระเบียบ 2-3 แถว สีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดสำคัญ เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรูหรือเกล็ดอื่นๆ ในไก่ตัวดีๆ
หงอน หงอนเป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนเรียบสีแดงสดใส
นิ้ว นิ้วยาวกลมเรียว เล็บและเกล็ดสีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดนิ้วแตก เป็นเกล็ดพิฆาต เล็บเรียวแหลม
หู ตุ้มหู ตุ้มหูรัดติดกับหูมีสีแดงเหมือนหงอน รูหูมีขนสีแดงปิด
เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นหรืองาช้าง สีเดียวกับแข้งและเกล็ด
เหนียง รัดกลมกลึงติดกับคาง บางตัวอาจมีเหนียงแลบออกมาเล็กน้อย สีแดงสดใสแบบหงอนและตุ้มห ู
ขน ขนพื้นตัวตั้งแต่บริเวณหน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง จะมีสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู จะมีสีแดงเป็นมัน ขนไชปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีดำ
กระโหลก กะโหลกใหญ่และยาวเป็น 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กหว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
กริยาท่าทาง ไก่ทองแดงหางดำเป็นไก่ที่มีกิริยาท่าทางอย่างองอาจทะมัดทะแมงแบบไก่ประดู่หางดำ จะยืน เดิน วิ่งชน ดูคล่องแคล่ว แข็งแรง จะยืนกระพือปีกตลอดเวลา เมื่อพบไก่อื่นจะแสดงอาการต่อสู้เสมอ ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ชนเชิงหลัก มัดตั้ง กอด คุม ตีบน ตีเท้า บ่าเป็นส่วนใหญ่
คอ คอใหญ่ยาวโค้งไปข้างหน้าแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดแน่น ขนคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับขนหลัง สร้อยคอยาวประบ่า
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
1. ขนพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง ก้น สีแดง
2. ขนคอ ขนหลัง ขนปีก สีแดง แก่กว่าขนพื้นเล็กน้อย
3. ขนสร้อยคอ จะมีสีแดงขลิบแลบออกมาเล็กน้อยตามเฉดสีแต่ละชนิด ขนปิดหูสีแดง
4. ขนไซปีก ขนหางพัดสีดำ ขนทับหางสีแดง
5. ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง จะเข้ม หรือ อ่อนตามเฉดสีพันธุ์ ตาสีแดง
6. ไก่ทองแดงเพศเมียจะเป็นไก่ทรงปลีกล้วย ไหล่หน้าจะใหญ่ ท้ายจะมนกลม กระรวยหางจะรัดและยาวแบบตัวผู้
สายพันธุ์ไก่ทองแดงหางดำ แบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ 1.ไก่ทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัว และขนสร้อยจะสีแดงเข้มอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดงอมดำ ตาแดง ไก่ทองแดงใหญ่บางแห่งเรียกไก่ทับทิม 2.ไก่ทองแดงตะเภาทอง ขนพื้นตัว และขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มแบบไก่ตะเภา หรือสีแบบสีทองคำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีเหลืองอมแดง ตาแดงอมเหลือง 3.ไก่ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ขนพื้นตัว ขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้ายๆ แดงใหญ่ แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลาย แดงดำ 4.ไก่ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ขนพื้นตัว ขนสร้อยจะสีแดงซีดๆ แดงอ่อนๆ ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทอง

เขียวหางขาว


ประวัติความเป็นมา ไก่เขียวเลาหางขาว เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้จากในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร นิยมไก่เขียวเลาหางขาว และสืบทอดมาถึงปัจจุบันซึ่งขาวกำแพงเพชรได้อนุรักษ์ไว้เป็นไก่ประจำจังหวัด
แหล่งกำเนิด มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนัก เพศผู้โดยเฉลี่ย 3.00-4.00 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีขาวอมน้ำตาล ลักษณะลูกไก่ หัวขาว หน้าคอและหน้าอกสีขาว สันหลังดำ ปีกในดำ ไชปีกนอกขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองอมน้ำตาล ตาสีขาวอมเหลือง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ไหล่หนาใหญ่ ลำตัวกลมยาว หางยาว ท่าทางสง่างาม ทะมัดทะแมง
ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งหนาและตรงชิด
ใบหน้า ใบหน้ากลมกลึงแบบหน้านกยูง
หาง หางพัดสีดำ หางกระรวยสีขาวปนดำ กระรวยคู่กลางจะมีสีขาวปลอด คู่อื่นๆ จะสีขาวปลายดำ
ปาก ปากใหญ่มีร่องน้ำสองข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากสีขาวอมเหลือง หรือขาวงาช้าง
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวกลมท้องแข็งนูนและมีสีขาวอมเหลืองเป็นรูปลำเทียน หรือลำหวายเกล็ดแข้งเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
จมูก จมูกแบนราบ สีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียบเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา สองชั้น ดวงตาสีขาวอมเหลืองเป็นประกาย
นิ้ว เรียวยาว ข้อนิ้ว มีท้องปลิงหนา
หงอน หงอนเล็ก เป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดกระหม่อม สีแดงสดใส
เดือย เดือยเป็นแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
เหนียง เหนียงรัดติดคางไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีหงอน
ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกหางสีดำ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ
กระโหลก กะโหลกหัวยาว สองตอน มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
เล็บ มั่นคง สีเดียวกับเกล็ด แข้ง และ ปาก
คอ คอใหญ่ โค้งลอนเดียว แบบคอม้า คองูเห่า กระดูกปล้องคอชิด ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอประบ่า
สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีเขียว บางชนิดปลายสร้อยขลิบทองหรือมีขนขาวขึ้นแซม หรือปลายสร้อยมีจุด
ปีก ปีกยาวเป็นลอนเดียวไม่โหว่ ไม่รั่ว ไม่ห่าง ขนปีกสีดำสนิท สร้อยคอสร้อยปีก สีเขียวเลา
กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ปลายเดียว
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ คือ ปาก แข้ง เล็บ มีสีขาวอมเหลือง ขนลำตัวสีดำ ปลายขนปีกสีขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว มี 3 สายพันธุ์ 1. เขียวเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ เป็นสุดยอดของไก่เขียวเลาหางขาว ศักดิ์ศรี พอๆ กับไก่เหลืองหางขาวพระเจ้า 5 พระองค์ ตัวนี้จัดเป็นพวกเดียวกับไก่พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลา คือขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายมีสีเขียวอมดำแบบเขียวแมลงภู่ ขนปีกท่อนในสีดำ ท่อนนอกตอนชายปีกสีขาวแซม หางพัดสีดำ หางกระรวยคู่เอกสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมเหลือง ที่หัว หัวปีก 2 ข้างและข้อขา 2 ข้างมีจุดกระประแป้งสีขาว อยู่เป็นหย่อมประปราย เรียกพระเจ้า 5 พระองค์ แบบไก่เหลืองหางขาวถือเป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง
2. ไก่เขียวเลาเล็กหางขาว รองจากไก่เขียวเลาใหญ่หางขาว ขนพื้นสีดำ ขนปีกขนหางพัดสีดำ หางกระรวยสีขาวปนดำ กระรวยคู่กลางขาวปลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลาขาวแซม คือ โคนขนสีขาวปลายเขียว และมีขนขาวขึ้นแซมประกาย ตาสีขาวอมเหลืองไม่มีหย่อมกระประแป้งแบบพระเจ้า 5 พระองค์ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองแบบเขียวเลาใหญ่
3. ไก่เขียวเลาดอกหางขาว รองจากเขียวเลาเล็ก เขียวดอกเลาหางขาวมีลักษณะอื่นๆ เหมือนเขียวเลาเล็กหางขาว ต่างกันตรงสีประกายสร้อยซึ่งจะเป็นสีเขียวอมน้ำตาล

นกกรด


ประวัติความเป็นมา ไก่นกกด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผยชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่าเป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใครไก่นกกดเป็นไก่สายพันธุ์แท้แต่โบราณมาแต่ ครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าและได้เลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน
แหล่งกำเนิด ไก่นกกด มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่วๆ ไปแถบ จังหวัดนครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี เป็นต้น สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง ลักษณะลูกไก่ มีขนสีแดงลายลูกหมาป่า หรือลายกระทิง ปาก แข้ง และเล็บ สีเหลืองอมแดง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่นกกดเป็นไก่รูปทรงงดงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงระหง ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่ และยาว หางยาวเป็นพลูจีบ หรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่ คอยาว ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บแลเดือย
ปีก ปีกยกใหญ่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ
ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย
ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งชิดและขนานกัน
จมูก จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกระรวยดก ยาวสีดำ หางเป็นลักษณะฟ่อนข้าวหรือพลูจีบ
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ตาสีเหลืองอมแดง เส้นตาสีแดง
แข้งขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย
หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกด หงอนมักจะเบ้ออกบ้างเล็กน้อย
เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
หู ตุ้มหู ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้า ดูกระชับไม่หย่อนยาน
นิ้ว นิ้วเรียว ยาว กลม มีตัวปลิงชัดเจน
เหนียง เหนียงรัดติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใส เหมือนหงอน
เดือย เดือยเป็นเดือยงาช้าง สีเดียวกับแข้งและปาก
กระโหลก กะโหลกหัวยาวสองตอน มีรอยไขหัวชัดเจน
ขน ขนพื้นลำตัวสีดา ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้าสีแดงอมน้ำตาล ขนหางสีดำ ขนปั้นขาสีดำ ขนปีกสีแดง ขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลเข้มคล้ายสีปีกแมลงสาบ
คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียวแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิด แน่น
กริยาท่าทาง ไก่นกกดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ขนเชิงตี เป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใคร
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ขนพื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย สร้อยคอสีน้ำตาล ขนหลัง ขนปีก สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกดเฉดสีอะไรให้สังเกตดูที่สร้อยคอ จะขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้
สายพันธุ์ไก่นกกด แบ่งได้ตามเฉดสีถึง 3 ชนิด คือ 1.ไก่นกกดแดง ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง 2.ไก่นกกดดำ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวย สีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ชนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำคล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดงอมดำ ตาสีแดงเข้ม 3.ไก่นกกดเหลือง ขนพื้นลำตัวสีดำ ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่นๆ บางตัวจะมีลายดำอยู่ที่ปีก จึงเรียกว่า กดลาย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีแดงอมดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกระปูด ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดงอมดำ

เทาทอง


ประวัติความเป็นมา ไก่เทา หรือไก่สีเทา เป็นไก่พื้นเมืองไทยมาแต่โบราณ เริ่มแต่สุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เทาเป็นไก่ชั้นเชิงดีพันธุ์หนึ่งของไทย มีลำหักลำโค่นใกล้เคียงกับไก่เขียวหางดำ นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วๆ ไป จากชาวบ้านจนถึงขุนนาง พระยา เช่น หลวงเมืองตาก เลี้ยงไก่โทนเถ้าเป็นไก่เทาทอง หรือเทาเหลือง บางคนเรียก “เทาฤาษี”
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังทรงเป็นเจ้าเมืองตาก ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงเป็นกรรมการชนไก่ ระหว่างไก่เขียวพาลีของพระยาพิชัยดาบหักกับไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากหรือพระยาพระคลัง ไก่โทนเถ้าที่ว่านี้เป็นไก่สีเทาทองคำ หรือเทาเหลือง เป็นไก่เก่งมีชั้นเชิง มีลำหักลำโค่นชนชนะไก่มาแล้วหลายตัว จนเป็นที่เลื่องลือในเมืองตาก และไม่มีใครจะชนด้วย
หลวงเมืองตากเคยชนไก่กับพระยาพิชัยดาบหัก แต่แพ้ไก่ของพระยาพิชัยดาบหักทุกครั้ง ครั้งนี้หลวงเมืองตากได้ไก่โทนเถ้ามาคิดจะแก้มือจึงไปท้าพระยาพิชัยชนเดิมพันกันโดยไม่ต้องเปรียบตัวกันแบบชนิดคลุมโปงตีกันเลย พระยาพิชัยชนะไก่อื่นมามากและชนะไม่เกินอันสาม ครั้นถึงวัน เมื่อปล่อยไก่ ไก่โทนเถ้าได้เปรียบใหญ่กว่าไก่พาลี ได้ทีก็ขี่ทับ ตีที่แสกหน้าและท้ายเสนียดและคอเชือด ทำให้ไก่พาลีเจ็บปวดมาก ต้องออกวิ่งล่อแทบจะแพ้ ไก่โทนเถ้าเป็นต่อไก่พาลีหลายขุม ขณะไก่โทนเถ้าชักและล้มลง พอได้สติลุกขึ้น เป็นจังหวะที่ไก่พาลีตีซ้ำไปถูกแถวคอเชือดถึงหลอดลมขาดถึงแก่ความตาย ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุเสียก่อนคิดว่าไก่โทนเถ้าน่าจะชนะ
แหล่งกำเนิด ไก่เทา มีแหล่งกำเนินทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก ชลบุรี (อ.พนัสนิคม) เพชรบุรี (อ.บ้านแหลม) ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี เป็นต้น ประเภท ไก่เทา เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักเพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล ลักษณะลูกไก่ มีขนลำตัวสีเทาอ่อน ขนหัว หน้าอก ปีกไชสีขาวอมเหลือง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองคล้ายลูกไก่เหลืองหางขาว
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่เทามีรูปร่างลักษณะ 2 อย่าง อย่างหนึ่ง รูปร่างเพรียวบางยาวระหง อีกลักษณะหนึ่งล่ำเตี้ย รูปหัวปลีและเบี้ยจั่น ลำตัวกลมหางยาวทรงฟ่อนข้าวและทรงหางม้า
ปีก ปีกใหญ่และยาว เป็นปีกตอนเดียวไม่ห่าง ไม่โหว่ ปีกสีเทาเหมือนขนพื้นลำตัวสร้อย หัวปีกสีเดียวกับสร้อยหลังและสร้อยคอ
ใบหน้า กลมกลึงหน้าแบบหน้านกหน้ากา
ตะเกียบ ตะเกียบก้นชิด ตรง
ปาก ปากใหญ่ยาว ปลายปากงองุ้ม มีร่องปากหรือร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง ปากสีขาวอมเหลือง สีรับกับสีแข้ง เล็บและเดือย
หาง หางพัดยาวเรียบสีเทาเช่นเดียวกับขนพื้นลำตัวหรือปีก หางกระรวยสีขาวปนเทา หางทรงฟ่อนข้าว พลูจีบ หรือหางม้า ขั้วหางใหญ่ มีกระปุกน้ำมันใหญ่และอันเดียว
จมูก รูจมูกโปร่งกว้าง สันจมูกเรียบติดกับปาก สีเดียวกับปาก
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ กลมกลึง แข้งเรียวกลมกลึงแบบลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก ขนปั้นขาสีเทา
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี ขอบตาสองขั้น ดวงตาแจ่มใส สีขาวอมเหลือง มีเส้นเลือดในตาขาวเด่นชัด
เกล็ด เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองรับกับสีปาก เกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบ 2 แถว จะมีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ ไชบาดาล และอื่นๆ
หงอน เป็นหงอนหิน หรือหงอน 3 แฉก หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม
นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วมีตัวปลิง เกล็ดนิ้วมักแตกหรือแซม เล็บนิ้วจะสีเดียวกับนิ้วหรือปากแข้ง
หู ตุ้มหู ตุ้มหูรัด ไม่หย่อยยาน รูหูมีขนสีเดียวกับสร้อยปิดอยู่
เดือย เดือยแหลมคม แบบเดือยงาช้าง ฐานเดือยจะมั่นคง
เหนียง เหนียงรัดรึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีเดียวกับหงอน
เขน ขนพื้นฐานลำตัวสีเทาตามพันธุ์ ขนปีก ขนหางพัด มีสีเทา ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสีเดียวกันตามพันธุ์ เช่น ดำ ประดู่ ขี้เถ้า ทองแดง และเหลืองทอง
กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ตอนหน้าเรียวยาว เล็กกว่าท่อนหลัง มีรอยไขหัวกลางกะโหลก
กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่สง่างามอีกพันธุ์หนึ่ง ยืน เดิน ทะมัดทะแมง ยืนตัวตรง กระพือปีกตลอดเวลา มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
คอ คอยาวรูปเคียว ปล้องคอชิดแน่น สร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับสร้อยหัวปีกสร้อยคอและสร้อยหลัง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ไก่เทาเพศเมีย มีรูปร่างลักษณะเพรียวบางสูงยาวระหง คอรัด คางรัด หน้าแหลมกลมกลึงแบบหน้านก ลำตัวยาวกลมจับยาว 2 ท่อน ขนพื้นลำตัวและขนหลังเส้นเล็กละเอียดเรียงกันเป็นระเบียบ กระเบน หางรัด สีขนพื้นลำตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนคอเป็นสีเทาเหมือนกันทั้งตัว สีจะแก่-อ่อนต่างกันตามสายพันธุ์เหมือนขนพื้นลำตัวของตัวผู้ ส่วนที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด คือ ขนสร้อยคอจะมีขลิบสีไปตามพันธุ์เหมือนขนสร้อยคอตัวผู้ เช่น เทาทองคำจะมีขลิบสีเหลือง เทาทองแดงจะมีขนขลิบสีแดง เทาสวาดหรือเทาเรือรบจะมีขนขลิบสีเทา เทาหม้อหรือเทาประดู่จะมีขนขลิบสีประดู่ เทาขี้เถ้าหรือเทายวงหรือเทานกพิราบจะมีขนขลิบสีขาว เทาสีดำสีตาจะเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองและแดงเหมือนตัวผู้เช่นกัน
สายพันธุ์ไก่เทาหางขาว มีอยู่ 6 พันธุ์ คือ 1. ไก่เทาทองคำหรือเทาฤาษี เป็นไก่เทายอดนิยมอันดับหนึ่งเหนือไก่เทาอื่นใด ไก่เทาทองหรือเทาเหลืองที่โด่งดัง เป็นไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตาก ชนชนะไก่มากมายดังกล่าวข้างต้น
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาทองคำ คือ ขนพื้นลำตัวสีเทาอ่อน แบบขี้เถ้าฟืน ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนระย้าสีเหลืองทองแบบเหลืองหางขาว ขนหางกระรวยโคนเทาปลายขาว หรือกระรวยคู่กลางขาวปลอด ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองรับกัน ขนปิดหูสีเหลืองทองตาหลาหมอตาย คล้ายไก่เหลืองหางขาวมาก
2. ไก่เทาทองแดง เป็นไก่เทาอันดับสองรองจากไก่เทาทองคำ
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาแดง หรือเทาทองแดง ขนพื้นลำตัวสีเทาแก่ ก้านขนจะแดง ขนปีกขนหางพัดสีเทาแก่ ขลิบขนและก้านขนแดง หางกระรวย สีเทาปลายขาว ก้านขนแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าสีทองแดง คล้ายไก่ทองแดงหางดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดง ขอบเกล็ดสีแดงจะออกเข้มกว่ากลางเกล็ด ขนปิดหูสีแดงแบบสีสร้อย ตาสีแดง
3. ไก่เทาสวาด เป็นไก่เทาอันดับสามรองจากเทาทองแดง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาสวาด ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบลูกกวาด หรือแบบสีเรือรบ หางกระรวยสีโคน ขนสีสวาด ปลายขนสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า ขนปิดหู สีเทาสวาดเข้มกว่าสีพื้นตัว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ขอบเกล็ดสีเทา ตาสีเหลืองไพล
4. ไก่เทาหม้อ เป็นไก่เทาอับดับ 4 รองจากเทาทองสวาด
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาหม้อ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาปลายขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาแก่แบบสีมะขามไหม้ ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย หาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
5. ไก่เทาขี้เถ้า เป็นไก่เทาอับดับ 5 รองจากเทาหม้อ
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาขี้เถ้า ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาอ่อนแบบสีขี้เถ้า ฟืน หรือสีนกพิราบ หางกระรวยโคนขนสีเทา ปลายขนขาวค่อนข้างมาก ขนปิดหูสีเทาอ่อน ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาอ่อน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ตาสีขาวขุ่นแบบควันไฟ
6. ไก่เทาขี้ควาย เป็นไก่เทาอันดับ 6 รองจากเทาขี้เถ้า
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เทาขี้ควาย ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาแซมขาวเล็กน้อย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีดำ ตาสีคล้ำดำ

ประดู่เลาหางขาว


ประวัติความเป็นมา ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์
แหล่งกำเนิด ไก่ประดู่เลาหางขาวมีแหล่งกำเนินแถบจังหวัดกรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3.00-3.40 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน ลักษณะลูกไก่ ขนหัว และขนคอสีขาว ขนหลังสีดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอและหน้าท้องสีขาว
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ เป็นไก่รูปร่างแบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืนท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก
กระโหลก กะโหลกหัวยาวกลมเป็น 2 ตอน ท่อนหน้าเล็กกว่าท่อนหลัง
ใบหน้า กลมกลึง หน้าแบบหน้านกเหยี่ยว
คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดกันขนสร้อยคอสีประดู่เลาขึ้นดกเป็นระเบียบ
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
ปีก ปีกใหญ่และยาว จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ
จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบสีเดียวกับปาก
ตะเกียบ ตะเกียบแข็ง ตรง หนา และชิดกัน
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตาสองชั้นนัยน์ตาดำตารอบนอกสีเหลืองแก่เหมือนสีไพลเส้นเลือดสีแดงชัดเจน
หาง หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบสีขาวอมดำ หางพัดดำปลายขาว หางกระรวยคู่กลางสีขาวปลอดคู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ หางดกเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน
หงอน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกะรัดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำเป็นแข้งรูปลำเทียน หรือ ลำหวาย เกล็ดแข้งเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก
หู ตุ้มหู ตุ้มหู ไม่ยาน สีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลาเหมือนขนสร้อย
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
เหนียง เหนียงเล็ก สีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
นิ้ว นิ้วเรียวยาว ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดมีสีขาวปนดำ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
เดือย เดือยเป็นเดือยแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่อันเดียว
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญ คือ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงกันเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะสั้น ละเอียด หางยาวดำสนิท ปาก แข้ง เล็บ มีสีน้ำตาลอมเหลือง
ไก่ประดู่เลาหางขาวมีอยู่ 4 เฉดสี คือ 1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่า เลาใหญ่ พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ดมะขามแก่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ที่หัว ปีก ข้อขาสีกระขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือสีส้ม
4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ ขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล

เขียวหางดำ


ประวัติความเป็นมา ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ สืบได้ตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลำหักลำโค่นดี นิยมเลี้ยงแพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดำ ชื่อ ไก่พาลี
ไก่เขียวหางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้จะเป็นไก่อุตรดิตถ์ ชลบุรี (พนัสนิคม) อยุธยา และแถบภาคใต้หลายจังหวัด ไก่เขียวหางดำเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีไทย เรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน หรือนางสิบสอง ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหักเป็นชาวอุตรดิตถ์ ชอบกีฬาชกมวย ฟันดาบ และชนไก่มาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นได้ร่ำเรียนวิชาการ หนังสือ และวิชาป้องกันตัว คือมวยไทย และฟันดาบและชอบการเลี้ยงไก่ชนโดยเฉพาะไก่เขียวหางดำเป็นไก่ที่มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า มีลำหักลำโค่นดี จะตีคู่ต่อสู้ไม่เกิน 3 อัน เป็นที่เลื่องลือ แม้แต่พระยาพิชัยดาบหักยังยกย่องว่าไก่เขียวหางดำเป็นไก่เทวดา ต่อมาได้เข้ารับราชการรับใช้สมเด็จพระเจ้าตากสิน
ครั้งหนึ่งก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่ายกทัพมาล้อมทัพของพระยาพิชัยดาบหัก ได้ทำสงครามสู้รบกันทุกวัน กำลังทหารจึงล้มตายไปจำนวนมาก เสบียงอาหารก็ร่อยหรอ เห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้พม่าล้อมไว้อย่างนี้คงต้องพังแน่ ก็เลยออกกลอุบายให้พักรบ 1 วัน ให้ทหารไปมาหาสู่กันนอกค่ายและจัดให้มีการชกมวย ชนไก่ ถ้าฝ่ายไทยชกมวยแพ้ ชนไก่แพ้ จะยอมให้ยึดค่าย แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ก็ให้เลิกทัพกลับไป พม่าหลงกลก็ยอมพระยาพิชัยฯ ให้ศิษย์เอกมวยไทยชกกับพม่า พม่าแพ้ และเอาไก่เขียวหางดำเป็นเหล่าพันธุ์ที่พระยาพิชัยฯ นิยมไปชนกับพม่า ไก่พระยาพิชัยฯ ชนะ พม่าต้องเลิกทัพกลับไป จึงเป็นการรักษาค่ายและชีวิตทหารเอาไว้ได้
ไก่เขียวเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย คือ ในเรื่องพระรถเมรี หรือนางสิบสอง พระรถเสนมีแม่และป้าตาบอดถึง 12 คน ถูกขังไว้ในถ้ำอดข้าวอดน้ำ พระรถเสนจึงต้องออกหาอาหารและน้ำมาเลี้ยงแม่และป้าทุกวัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์สงสาร จึงมอบไก่แก่พระรถเสนให้นำไปชนพนันเอาข้าว 12 ห่อ มาให้แม่และป้ากิน
แหล่งกำเนิด ไก่เขียวหางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น แถบภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม) เรียก “เขียวพระรถ” ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป ประเภท ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมียประมาณ 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีน้ำตาลนวล ลักษณะลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวเล็กน้อยคล้ายประดู่หางดำ ปาก แข้ง สีเขียวอมดำ หรือน้ำตาลอมดำ
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่เขียวแมลงภู่หางดำ มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา
คอ คอใหญ่ปานกลาง ยาวระหง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ
ใบหน้า ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากาหรือนกยูง
ปีก ปีกยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียว สีดำ สร้อยปีกสีเขียวอมดำ
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงอเล็กน้อย มีร่องปากหรือร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเขียวอมดำ สีรับกันกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ปากบนใหญ่กว่าปากล่างหุบปิดสนิท ไม่มีร่องโหว่ เง่าปากใหญ่และแข็งแรง
ตะเกียบ แข็งแรง ชิด และตรง
จมูก รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก
หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก ยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง ปลายหางชี้ตรง กระเบนหางคอดรัดขั้วหางใหญ่และชิด กระปุกน้ำมันเดี่ยว
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี คิ้วนูนเรียบตามเบ้าตา ดวงตาสีเขียวอมดำ สีเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย ข้อขาตรง หนังปั้นขาออกสีชมพู ขนปั้นขาสีดำ
หงอน หงอนเป็นหงอนหิน มีแฉกเล็กๆ 2 ข้าง ผิวหงอนเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม ไม่พับไม่ล้ม
เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเขียวอมดำรับกับสีปาก เกล็ดเรียบเป็นแถวเป็นแนวยาวปัดตลอด มักมีเกล็ดพิฆาต เช่น กากบาท นาคราช เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ผลาญศัตรู งูจงอาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ตุ้มหู ตุ้มหูรัดรึง ไม่หย่อนยาน สีแดงเหมือนสีหงอน รูหูกลม มีขนปิดหูสีเขียวอมดำเหมือนขนสร้อย
นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วหรือตัวปลิงแน่น เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นลักษณะต่างๆ เกล็ด เล็บ เดือย มีสีเขียวอมดำรับกับแข้งและปาก เ
หนียง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนสีหงอน
เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นและงาช้าง เดือยแหลมคม สีเดียวกับแข้งหรือปาก
กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ส่วนหน้ายาวเล็กกว่าส่วนท้าย เห็นรอยไขหัวที่กะโหลกชัดเจน
ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก สีดำตลอด ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้า สีเขียวอมดำแบบสีแมลงภู่ ก้านขนแข็งเหนียว ไม่เปราะหรือหักง่าย
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย เป็นไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียวอมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย
สรุป ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ

ไก่ประดู่หางดำ


ประวัติความเป็นมา ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมไก่เหลืองหางขาวและคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่หลายมาในหมู่ขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย และต่อมาได้พัฒนามาเป็นกีฬาพระราชา เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกาทศรถ พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น
ไก่ประดู่หางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดี
ไก่ประดู่หางดำโด่งดังครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ได้ทรงนำไก่ประดู่หางดำ จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพาร ทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไปกว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่า ไก่ประดู่หางดำ เป็นต้นตระกูลสายพันธุ์ไก่อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย
ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ขี่ กอด ทับ เท้าบ่า หรือบางทีมีมัดปีกด้วย
แหล่งกำเนิด ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มีถิ่นกำเนิดแถบภาคกลางของไทย เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นแหล่งกำเนินไก่ประดู่หางดำชั้นดี นอกจากนี้ยังมีแถบจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันนิยมเลี้ยงแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย และต่างประเทศในแถบอาเซียน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เป็นต้น ประเภท ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป เพศเมียหนัก 2 กิโลกรัม ขึ้นไป สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน ลักษณะลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวนวล ปาก ขา สีน้ำตาลแก่
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามทรงรูปปลีกล้วย ไหล่กว้าง ลำตัวยาวล่ำสัน หางยาวเป็นฟ่อนจรดพื้น ปั้นขาใหญ่ แข้งเป็นแข้งคัดออกเหลี่ยม ดูสง่างาม ทะมัดทะแมง น่าเกรงขามยิ่งนัก ตะเกียบ หนา แข็งแรง และชิด ปลายโค้งเข้าหากันเล็กน้อย
ใบหน้า กลมกลึงแบบหน้านกยูง และมีสีแดง
หาง หางพัดสีดำสนิทยาว และเรียงกันเป็นระเบียบจากล่างไปบน สองข้างเท่าๆ กัน มีหางรับข้างละ 2-3 เส้น กระเบนหางใหญ่ ขั้วหางชิด กระปุกน้ำมันใหญ่ เป็นกระปุกเดี่ยว
ปาก ปากใหญ่ ปลายงองุ้มเหมือนปากนกแก้ว ปากบนรับกับปากล่าง หุบสนิทพอดี มีร่องปากทั้ง 2 ข้าง ปากสีน้ำตาลแก่ สีปากจะรับกับสีแข้ง และเดือย
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย หรือแข้งคัด
จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกราบเรียบ สีเดียวกับปาก
เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีน้ำตาลรับกับสีปาก เกล็ดแข้งเป็นเกล็ดพัดเรียงเป็นระเบียบ
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี ดวงตาสีไพลแก่ มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส คิ้วนูนเป็นเส้นขนานโค้งไปตามเบ้าตา
นิ้ว นิ้วยาวกลม ปลายนิ้วเรียวมีท้องปลิงปุ่มตรงข้อนิ้ว เกล็ดนิ้วมีแตก แซมเหน็บเล็บสีน้ำตาลรับกับสีปาก ไม่บิดไม่งอ ปลายเล็กแหลมคมแบบเล็บเหยี่ยว
เหนียง เหนียงรัดกลมกลึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีของหงอน
เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่น เดือยตรงโคนใหญ่ปลายแหลมคมแบบเดือยลูกปืน สีเดียวกับปากและแข้ง
กะโหลก กะโหลกหัวอวบยาว 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสั้นแน่น บริเวณหน้าคอถึงหน้าอกจะมองเห็นหนังสีแดง ขนใต้ปีก ใต้อกแน่น ช่วงท้องเป็นปุย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าเป็นขนละเอียด ก้านขนแข็งเล็กเป็นแผงสีประดู่ สยายประบ่าประก้น
คอ คอใหญ่ ยาวโค้งลอนเดียวแบบคองูเห่า กระดูกปล้องคอใหญ่ชิดแน่น ร่องคอชิดกับไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่าต่อกับสร้อยหลัง
กิริยาท่าทาง ไก่ประดู่หางดำเป็นไก่สกุลเดียวกับเหลืองหางขาว เวลายีน เดิน วิ่ง ชน กระพือปีกและขัน จะแสดงอาการหยิ่งผยอง ยืนตรง อกตั้ง ทะมัดทะแมง เดินย่างเท้าแบบสามขุม เหยียบเท้ามั่นคง เวลายืนจะกางปีก และกระพือปีกตลอดเวลา เวลาพบไก่อื่นจะแสดงอาการพร้อมที่จะต่อสู้ทันที โดยไม่สะทกสะท้าน จะเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า คือ กอด ขี่ ทับ เท้าบ่า และหน้าคอ
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงก้นเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะมีสีประดู่แซมปลายเล็กน้อย ขนสั้นละเอียด หางยาวดำสนิท ปากมั่นคง มีร่องน้ำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่ม เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ถ้าประดู่แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่มเดือย สีเขียวหยก ตาลายดำ ลักษณะอื่นๆ เหมือนตัวผู้
ไก่ประดู่หางดำ แบ่งตามสายพันธุ์มี 3 สายพันธุ์ คือ 1. ประดู่เมล็ดมะขาม หรือประดู่มะขามคั่ว ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวย สีดำสนิท ไม่มีสีขาว หรือสีอื่นๆ แซม ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า และขนปิดหูสีประดู่สีเดียวกันทั้งตัวไม่มีสีขนอื่นๆ แซม เช่นกัน ตาสีไพลหรือแดง ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลแก่ หน้าสีแดง ถือว่าเป็นเอกเหนือประดู่อย่างอื่นๆ ทั้งสิ้น เป็นประดู่พันธุ์แท้แต่โบราณ พันธุ์ยอดนิยมมี 2 เฉดสี คือ
1.1 สีแก่ เรียก ประดู่มะขามไหม้ หรือประดู่ดำ แบบสีโอ๊คแก่
1.2 สีอ่อน เรียก ประดู่แดง แบบสีโอ๊คอ่อน 2. ประดู่แสมดำ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวย สีดำสนิทไม่มีสีขาว หรือสีอื่นๆ แซม ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้า และขนปิดหูสีประดู่ดำ ตาสีดำ ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ เดือย สีดำสนิท หนังสีดำคล้ำๆ มองดูคล้ายไก่ดำของจีน สีทะมึนไม่สดใส เป็นรองประดู่มะขามคั่ว 3. ประดู่แข้งเขียวตาลาย บางคนเรียกประดู่เมืองสิงห์ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวย สีดำสนิทไม่มีสีขาว หรือสีอื่นๆ แซม ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้า และขนปิดหูสีประดู่มะขามคั่ว ตาสีแดงหรือสีไพล มีเส้นตาดำ หรือลายดำ ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวคล้ำแบบสีหยก หนังสีเขียวคล้ายสีแข้ง มองดูคล้ำ ไม่สดใส สันนิษฐานว่าน่าจะกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างประดู่มะขามไหม้กับประดู่แสมดำ จึงมีลักษณะของทั้งสองพันธุ์อยู่ ประดู่แข้งเขียวตาลายจึงเป็นรองประดู่แสมดำ
ไก่ประดู่หางดำ นอกเหนือจาก 3 สายพันธุ์นี้ถือว่าเป็นประดู่ธรรมดา กลายพันธุ์มาจากการผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์นี้ จะเป็นไก่กลายพันธุ์ เลือดไม่บริสุทธิ์ เช่น ประดู่แข้งเขียวเดือยดำ แข้งน้ำตาลเดือยดำ แข้งขาวเดือยดำ แข้งเขียวตาดำ แข้งดำตาลาย แข้งเขียวตาเหลือง เป็นต้น
สรุป ไก่ประดู่หางดำ แต่เดิมเป็นไก่ที่ลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ตัวผู้รูปร่างสูงตระหง่าน สง่างาม ลำตัวตั้งทอดยาวสองท่อ ใบหน้ากลมกลึง ตาสีไพล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลแก่ หรือมะขามไหม้ หรือมะขามคั่ว หางพัดสีดำสนิท ยาวเรียงเป็นระเบียบ หางกระรวยสีดำสนิทรูปใบข้าว ขึ้นดำยาวเป็นฟ่อนรูปพลูจีบ ปลายโค้งลงเล็กน้อย ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ต่อมาไม่ได้รักษาพันธุ์ หรืออนุรักษ์ไว้ เลยกลายพันธ์ไป เท่าที่พบเห็นปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังกล่าวข้างต้น

ไก่เหลืองหางขาว







ไก่ชนของไทยพัฒนามากว่า 500 ปี ปัจจุบัน
มีพันธุ์ไก่ชนเป็นจำนวนมาก พอแยกตามสีได้ดังนี้คือ ไก่เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียงเลา
เทาทอง และไก่ลาย นักเลงไก่ชนหลายท่านบอกว่า ไก่ชนสมัยแรกๆนั้นมีเพียง 2 พันธุ์ คือ
ประดู่ไก่ป่า (ประดู่หางดำ) และไก่เหลืองหางขาว
ประดู่ไก่หางดำได้ชื่อว่า " ไก่พ่อขุน " เนื่องมาจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรด
ส่วนไก่เหลืองหางขาวเชื่อกันว่าเป็นไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงนำ " ไก่เหลืองหางขาว "
จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลกไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่หงสาวดี
บ้านกร่าง เดิมเรียกว่าบ้านหัวแห อยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตกประมาณ
9 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ผู้คนในหมู่บ้านจะมีการนัดกันมาชนไก่ในเทศกาลต่างๆ
เป็นประจำทุกปี
ที่บ้านกร่างนี้เลี้ยงไก่ชนที่เป็น " ไก่อูตัวใหญ่สีเหลืองหางขาว " ที่เรียกกันว่า
" ไก่เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง " ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นไก่ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในหนังสือสารานุกรมพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 3 เรียก " ไก่เหลืองหางขาว " ว่า
" ไก่เหลืองใหญ่ " ลักษณะขนสีแดงอ่อน คล้ายสีทอง ขนปีกขาว ปากขาว หางขาว ปากเป็นร่อง
เกล็ดเป็นผิวหวายตะกร้า (ขาวแกมเหลือง) จัดเป็นยอดไก่อย่างที่นักเลงไก่ว่า
" ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ " หมายความว่า เมื่อได้คู่ตีแล้วไม่ต้องมาดู ไปสั่งเหล้ามากิน
เชื่อก่อนได้เลย ต้องชนะแน่ๆ ในตำราชนไก่ของคุณเกรียงไกร ไทยอ่อน บอกว่า
ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่มีสกุลมีกระวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตา
หรือเข้ารูหูพอดี รูปร่างยาวสองท่อน สูงระหง สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อสีชมพูอมแดง
แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว
ลักษณะเพิ่มเติมของไก่เหลืองหางขาว
" หน้างอนบาง
กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า
หน้านกยูง "
ส่วนไก่เหลืองหางขาวของภาคใต้คือ
" อกชัน
หวั้นชิด
หงอนบิด
ปากร่อง
พัดเจ็ด
ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง
ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม "