วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไก่เหลืองหางขาว







ไก่ชนของไทยพัฒนามากว่า 500 ปี ปัจจุบัน
มีพันธุ์ไก่ชนเป็นจำนวนมาก พอแยกตามสีได้ดังนี้คือ ไก่เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียงเลา
เทาทอง และไก่ลาย นักเลงไก่ชนหลายท่านบอกว่า ไก่ชนสมัยแรกๆนั้นมีเพียง 2 พันธุ์ คือ
ประดู่ไก่ป่า (ประดู่หางดำ) และไก่เหลืองหางขาว
ประดู่ไก่หางดำได้ชื่อว่า " ไก่พ่อขุน " เนื่องมาจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรด
ส่วนไก่เหลืองหางขาวเชื่อกันว่าเป็นไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงนำ " ไก่เหลืองหางขาว "
จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลกไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่หงสาวดี
บ้านกร่าง เดิมเรียกว่าบ้านหัวแห อยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตกประมาณ
9 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ผู้คนในหมู่บ้านจะมีการนัดกันมาชนไก่ในเทศกาลต่างๆ
เป็นประจำทุกปี
ที่บ้านกร่างนี้เลี้ยงไก่ชนที่เป็น " ไก่อูตัวใหญ่สีเหลืองหางขาว " ที่เรียกกันว่า
" ไก่เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง " ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นไก่ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในหนังสือสารานุกรมพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 3 เรียก " ไก่เหลืองหางขาว " ว่า
" ไก่เหลืองใหญ่ " ลักษณะขนสีแดงอ่อน คล้ายสีทอง ขนปีกขาว ปากขาว หางขาว ปากเป็นร่อง
เกล็ดเป็นผิวหวายตะกร้า (ขาวแกมเหลือง) จัดเป็นยอดไก่อย่างที่นักเลงไก่ว่า
" ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ " หมายความว่า เมื่อได้คู่ตีแล้วไม่ต้องมาดู ไปสั่งเหล้ามากิน
เชื่อก่อนได้เลย ต้องชนะแน่ๆ ในตำราชนไก่ของคุณเกรียงไกร ไทยอ่อน บอกว่า
ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่มีสกุลมีกระวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตา
หรือเข้ารูหูพอดี รูปร่างยาวสองท่อน สูงระหง สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อสีชมพูอมแดง
แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว
ลักษณะเพิ่มเติมของไก่เหลืองหางขาว
" หน้างอนบาง
กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า
หน้านกยูง "
ส่วนไก่เหลืองหางขาวของภาคใต้คือ
" อกชัน
หวั้นชิด
หงอนบิด
ปากร่อง
พัดเจ็ด
ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง
ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น