วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พ่อพันธ์ - แม่พันธ์


........................................................................
........................................................................
........................................................................

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เกล็ดหน้าแข้ง

เกล็ดหน้าแข้ง
ปกติจะมีอยู่2-3แถวการจัดเรียงตัวของเกล็ดหน้าแข้งของไก่จะไม่ค่อยเหมือนกันทุกตัวไปบางตัวจะมีเกล็ดแซม เกล็ดแตก
นักเลงไก่รุ่นก่อนๆ จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะ เช่น
1. เกล็กสองแถวปัดตลอด คือ การเรียงตัวของเกล็ดอีกแบบหนึ่ง โดยที่เกล็ดแถวนอกและแถวในมาพบกันที่แนวกลางของหน้า
แข้ง โดยมันจะไม่สอดประสานกันแต่ จะยกตัวเป็นสันแยกกัน ส่วนตรงกลางหน้าแข้ง จะมองเห็นเป็นร่องเป็นเส้นตรง ลงไป
ถึงระหว่างโคนของนิ้วกลางและนิ้วนอก
2. เกล็ดสามแถวตลอดแข้ง คือ ไก่ที่มีเกล็ดแข้ง 3 แถว สม่ำเสมอตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงนิ้ว 3 โดยเกล็ดแข้งแถวนอกเป็นเกล็ดที่
ต่อมาจากเกล็ดนิ้วนอก ส่วนเกล็ดแถวกลางเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากนิ้วกลาง เกล็ดแข้งแถวในเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วใน
ถ้าหากมีเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วก้อย สูงขึ้นไปถึงเข่าด้วย จะมองเหมือนกับเป็นเกล็ดแถวที่ 4 เรียกว่า เกล็ดเดิมพัน
3. เกล็ดวันทองห้ามทัพ คือเกล็กแซมตรงกลางระหว่างเกล็ดหน้าแข้งทั้ง2แถวนับจากใต้เดือยลงมาแล้วไปตกลงช่องระหว่างนิ้ว
กลางและนิ้วนอกเป็นทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
4. เกล็ดหนุมานประสานมือ คือเกล็ดหน้าแข้งมี2แถวเรียงตัวสอดแทรกสลับกันเกล็ดแข้งทุกๆเกล็ดจะต้องหนาและนูนถ้ามีรอย
บุ๋มตรงกลางของเกล็ดแสดงว่าใช้ไม่ได้
5. กำไลใต้เดือย 3 เกล็ด คือ มีเกล็ดกำไลอยู่ใต้เดือย 3 เกล็ด มีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
6. กำไลทั้งแข้งมีเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้ง เป็นเกล็ดใหญ่เกล็ดเดียว แต่ต้องมีเดือย ต้องเป็นทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วไก่ที่มี
กำไลทั้งแข้งมักเป็นไก่เดือยคุด
7. กำไลตรงเดือย 1 เกล็ด ถ้ามีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
8. เกล็ดเสือซ่อนเล็บ คือ เมื่อให้ไก่ยืนเต็มเท้า เกล็ดนิว้กลางเกล็ดแรกจะถูกเกล็ดสุดท้ายของหน้าแข้งบังจนมิด หรือเกล็ดที่ 2 จะ
ถูกเกล็ดแรกบังจนมิด ทำใเหมือนกับว่าเกล็ดหายไป 1 เกล็ด
9. เกล็ดจักรนารายณ์ คือ เกล็ดนิ้วทุกนิ้ว ทั้งข้างซ้ายและขวา แตกและแซมทุกๆนิ้ว รวมทั้งนิ้วก้อยจะดีมาก
10. เกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง เป็น เกล็ดเล็กๆเป็นแถวแทรกอยู่ระหว่างเกล็ดเดิมพันและเกล็ดนำเดือย ไก่บางเหล่ามีเกล็ดเดิมพัน
ต่ำและไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสาร ท้องแข้งแต่เป็นตุ่มคล้ายหนังแข็งๆ สีแดงลักษณะเช่นนี้ไม่ดี แต่ถ้าเป็นเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง
เป็นเกล็ดเล็กๆ นูนปูด ลูบดูสากมือ ลักษณะเช่นนี้ดี แข้งคม ไก่บางตัว อาจไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง บางตัว มีแถวเดียว
บางตัวมี 2 แถว หรือบางตัวเป็นเกล็ดแข้งละเอียด
11. เกล็ดเดิมพัน คือ เป็นแถวของเกล็ดท้องแข้งที่เรียงเบียดอยู่กับเกล็ดหน้าแข้งแถวใน จะเริ่มต่อจากเกล็ดโคนของนิ้วก้อย พาด
อ้อมด้านในของเดือยไปทางด้านหน้า ไปหาเกล็ดแข้งแถวในเรียงเบียดเกล็ดหน้าแข้งแถวในขึ้นไปจนถึงหัวเข่าเกล็ดนี้จะมีแนว
ยาวไม่เท่ากันบางตัวต่ำกว่าเดือยก็ไม่มีเกล็ดแล้วลักษณะนี้ไม่ดีบางตัวเท่ากับ เดือยบางตัวอาจจะเลยขึ้นไปสูงกว่าเดือยเล็กน้อย
ลักษณะเช่นนี้พอใช้บางตัวเลยไปถึงหัวเข่าจะดีมากเกล็ดเดิมพันนี้ยิ่งขึ้นสูงยิ่งดีเกล็ดเรียงเบียดติดต่อกันสูงถึงเข่าดีที่สุด
12. เกล็ดตรงเดือย หรือ เกล็ดนำเดือย(เกล็ดอัน) คือ แถวของเกล็ดที่ขึ้นเริ่มจากเดือยไปหาหัวเข่า เกล็ดนี้จะอยู่กึ่งกลางของท้อง
แข้ง ยิ่งเป็นแถวตรงและขึ้นสูงถึงเข่า ยิ่งดี ห้ามมีเกล็ดแทรก เกล็ดขัดเด็ดขาด ลักษณะของเกล็ดควรจะนูนปูด ห้ามบุ๋ม เป็นทั้ง 2
ข้างเหมือนกันยิ่งดี เป็นเกล็ดมาตรฐานมักชนะ เกล็ดนี้จะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ไก่บางตัวจะมีเกล็ดเล็กๆอยู่ใต้เดือย 1 เกล็ด
เรียกว่าเกล็ดรองเดือย ส่วนไก่ที่มี 4 เดือย หรือเดือยแฝด อาจมีเกล็ดเหนือเดือย หรือเกล็ดรองเดือยยาวขึ้นมาเป็นเหมือนกับเดือย
ก็ได้
13. ดอกจันทน์หน้าเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้งในที่อื่นเป็นเกล็ด 2 แถว แต่ที่หน้าเดือยเป็นเกล็ด 3 แถว เกล็ดใหญ่พอๆกันทั้ง
3 แถว ทำให้มองเห็นเป็นรูป ดอกจันทน์6กลีบใหญ่เท่าๆกัน ถ้ามีทั้ง2ข้างยิ่งดีหรือที่หน้าเดือยมีเกล็ดเล็กๆเรียงตัวอยู่เป็นรูปดอก
จันทน์ 6 กลีบ หรือ 5 กลีบ ถ้ามีทั้ง 2 ข้างยิ่งดีลักษณะเช่นนี้ ตีเจ็บ ไก่ชนไม่ว่าลักษณะแข้งจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถ
ยืนยันได้เท่าใดนักว่าจะตีเจ็บหรือไม่ เกล็ดเป็นเพียงส่วนประกอบของแข้งไก่เท่านั้น
ปกติจะมีอยู่2-3แถวการจัดเรียงตัวของเกล็ดหน้าแข้งของไก่จะไม่ค่อยเหมือนกันทุกตัวไปบางตัวจะมีเกล็ดแซม เกล็ดแตก
นักเลงไก่รุ่นก่อนๆ จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะ เช่น
1. เกล็กสองแถวปัดตลอด คือ การเรียงตัวของเกล็ดอีกแบบหนึ่ง โดยที่เกล็ดแถวนอกและแถวในมาพบกันที่แนวกลางของหน้า
แข้ง โดยมันจะไม่สอดประสานกันแต่ จะยกตัวเป็นสันแยกกัน ส่วนตรงกลางหน้าแข้ง จะมองเห็นเป็นร่องเป็นเส้นตรง ลงไป
ถึงระหว่างโคนของนิ้วกลางและนิ้วนอก
2. เกล็ดสามแถวตลอดแข้ง คือ ไก่ที่มีเกล็ดแข้ง 3 แถว สม่ำเสมอตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงนิ้ว 3 โดยเกล็ดแข้งแถวนอกเป็นเกล็ดที่
ต่อมาจากเกล็ดนิ้วนอก ส่วนเกล็ดแถวกลางเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากนิ้วกลาง เกล็ดแข้งแถวในเป็นเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วใน
ถ้าหากมีเกล็ดที่ต่อมาจากเกล็ดนิ้วก้อย สูงขึ้นไปถึงเข่าด้วย จะมองเหมือนกับเป็นเกล็ดแถวที่ 4 เรียกว่า เกล็ดเดิมพัน
3. เกล็ดวันทองห้ามทัพ คือเกล็กแซมตรงกลางระหว่างเกล็ดหน้าแข้งทั้ง2แถวนับจากใต้เดือยลงมาแล้วไปตกลงช่องระหว่างนิ้ว
กลางและนิ้วนอกเป็นทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
4. เกล็ดหนุมานประสานมือ คือเกล็ดหน้าแข้งมี2แถวเรียงตัวสอดแทรกสลับกันเกล็ดแข้งทุกๆเกล็ดจะต้องหนาและนูนถ้ามีรอย
บุ๋มตรงกลางของเกล็ดแสดงว่าใช้ไม่ได้
5. กำไลใต้เดือย 3 เกล็ด คือ มีเกล็ดกำไลอยู่ใต้เดือย 3 เกล็ด มีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
6. กำไลทั้งแข้งมีเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้ง เป็นเกล็ดใหญ่เกล็ดเดียว แต่ต้องมีเดือย ต้องเป็นทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วไก่ที่มี
กำไลทั้งแข้งมักเป็นไก่เดือยคุด
7. กำไลตรงเดือย 1 เกล็ด ถ้ามีทั้ง 2 แข้งยิ่งดี
8. เกล็ดเสือซ่อนเล็บ คือ เมื่อให้ไก่ยืนเต็มเท้า เกล็ดนิว้กลางเกล็ดแรกจะถูกเกล็ดสุดท้ายของหน้าแข้งบังจนมิด หรือเกล็ดที่ 2 จะ
ถูกเกล็ดแรกบังจนมิด ทำใเหมือนกับว่าเกล็ดหายไป 1 เกล็ด
9. เกล็ดจักรนารายณ์ คือ เกล็ดนิ้วทุกนิ้ว ทั้งข้างซ้ายและขวา แตกและแซมทุกๆนิ้ว รวมทั้งนิ้วก้อยจะดีมาก
10. เกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง เป็น เกล็ดเล็กๆเป็นแถวแทรกอยู่ระหว่างเกล็ดเดิมพันและเกล็ดนำเดือย ไก่บางเหล่ามีเกล็ดเดิมพัน
ต่ำและไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสาร ท้องแข้งแต่เป็นตุ่มคล้ายหนังแข็งๆ สีแดงลักษณะเช่นนี้ไม่ดี แต่ถ้าเป็นเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง
เป็นเกล็ดเล็กๆ นูนปูด ลูบดูสากมือ ลักษณะเช่นนี้ดี แข้งคม ไก่บางตัว อาจไม่มีเกล็ดเม็ดข้าวสารท้องแข้ง บางตัว มีแถวเดียว
บางตัวมี 2 แถว หรือบางตัวเป็นเกล็ดแข้งละเอียด
11. เกล็ดเดิมพัน คือ เป็นแถวของเกล็ดท้องแข้งที่เรียงเบียดอยู่กับเกล็ดหน้าแข้งแถวใน จะเริ่มต่อจากเกล็ดโคนของนิ้วก้อย พาด
อ้อมด้านในของเดือยไปทางด้านหน้า ไปหาเกล็ดแข้งแถวในเรียงเบียดเกล็ดหน้าแข้งแถวในขึ้นไปจนถึงหัวเข่าเกล็ดนี้จะมีแนว
ยาวไม่เท่ากันบางตัวต่ำกว่าเดือยก็ไม่มีเกล็ดแล้วลักษณะนี้ไม่ดีบางตัวเท่ากับ เดือยบางตัวอาจจะเลยขึ้นไปสูงกว่าเดือยเล็กน้อย
ลักษณะเช่นนี้พอใช้บางตัวเลยไปถึงหัวเข่าจะดีมากเกล็ดเดิมพันนี้ยิ่งขึ้นสูงยิ่งดีเกล็ดเรียงเบียดติดต่อกันสูงถึงเข่าดีที่สุด
12. เกล็ดตรงเดือย หรือ เกล็ดนำเดือย(เกล็ดอัน) คือ แถวของเกล็ดที่ขึ้นเริ่มจากเดือยไปหาหัวเข่า เกล็ดนี้จะอยู่กึ่งกลางของท้อง
แข้ง ยิ่งเป็นแถวตรงและขึ้นสูงถึงเข่า ยิ่งดี ห้ามมีเกล็ดแทรก เกล็ดขัดเด็ดขาด ลักษณะของเกล็ดควรจะนูนปูด ห้ามบุ๋ม เป็นทั้ง 2
ข้างเหมือนกันยิ่งดี เป็นเกล็ดมาตรฐานมักชนะ เกล็ดนี้จะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ไก่บางตัวจะมีเกล็ดเล็กๆอยู่ใต้เดือย 1 เกล็ด
เรียกว่าเกล็ดรองเดือย ส่วนไก่ที่มี 4 เดือย หรือเดือยแฝด อาจมีเกล็ดเหนือเดือย หรือเกล็ดรองเดือยยาวขึ้นมาเป็นเหมือนกับเดือย
ก็ได้
13. ดอกจันทน์หน้าเดือย คือ ไก่ที่มีเกล็ดหน้าแข้งในที่อื่นเป็นเกล็ด 2 แถว แต่ที่หน้าเดือยเป็นเกล็ด 3 แถว เกล็ดใหญ่พอๆกันทั้ง
3 แถว ทำให้มองเห็นเป็นรูป ดอกจันทน์6กลีบใหญ่เท่าๆกัน ถ้ามีทั้ง2ข้างยิ่งดีหรือที่หน้าเดือยมีเกล็ดเล็กๆเรียงตัวอยู่เป็นรูปดอก
จันทน์ 6 กลีบ หรือ 5 กลีบ ถ้ามีทั้ง 2 ข้างยิ่งดีลักษณะเช่นนี้ ตีเจ็บ ไก่ชนไม่ว่าลักษณะแข้งจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถ
ยืนยันได้เท่าใดนักว่าจะตีเจ็บหรือไม่ เกล็ดเป็นเพียงส่วนประกอบของแข้งไก่เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อื่น ๆ

..

ไก่พม่า







ไก่ป่าก๋อย

ไก่ป่าก๋อย
เป็นไก่ชนสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อกรกับไก่พม่าโดยตรงชั้นเชิงของไก่ป่าก๋อยนั้น ปัจจุบันจะมีชั้นเชิงหลักๆอยู่ 2
ชั้นเชิง คือเชิงบนและเชิงล่างไก่ป่าก๋อย
เชิงบนนั้นจะวิ่งเข้าเร็วแต่หัวจะไม่ต่ำปากเร็วไม่เลือกที่ ลำโตส่วนไก่ป่าก๋อยเชิงล่าง นั้นหัวจะต่ำแทบติดสังเวียน เลยทีเดียวเพื่อ
หลบแข้งปล่าวอาวุธฉกาจของไก่พม่า
การบุกของไก่ป่าก๋อยจะบุกเร็วมากจนไก่พม่า ตั้งตัวแทบไม่ติดถิ่นกำเนิดของไก่ป่าก๋อยอยู่ที่บ้านป่าก๋อยป่ารกฟ้าและหมู่บ้าน
ใกล้เคียง ต.น้ำดิบ อ.ป่า จ.ลำพูน ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธ์ ออกไปมากพอสมควรส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในทางภาคเหนือเป็นส่วน
มาก เนื่องจากไก่ป่าก๋อยเป็นไก่รอยเล็ก
ไก่ป่าก๋อยมีสีที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คือ มีลักษณะสีเลา ต้องมีเลาขาวแซมตามสร้อย หางขาวเช่น เหลือง
เลาหางขาวเขียวเลาหางขาวเป็นต้นมีกระขาวแซมตามหัว และ ส่วนต่างๆบางตัวได้ ลักษณะพระเจ้า 5 พระองค์ คือ มีจุดขาว 5
ตำแหน่ง หัว 1 ปีก 2ข้อขา 2 จุด ลำดับต่อมาก็ดูที่รูปร่าง ไก่ป่าก๋อยจะมีลักษณะเตี้ย ล่ำ เป็นไก่รอยเล็ก มีน้ำหนักตั วประมาณ 2.0 -
2.9กิโลกรัมหงอนส่วนใหญ่จะเป็นหงอนหินรูปร่าง กลมมนผิวหงอน เกลี้ยงเล็กกระทัดรัดหางของไก่ป่าก๋อยส่วนใหญ่จะเป็น
ไก่หาง ขาว ก้านหางแข็งหางพุ่งตรงปลายหางแหลม (หางเข็ม)ลักษณะหางสีขาวก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะประจำสาย พันธุ์ที่เด่นชัด
ไก่ป่าก๋อยดั้งเดิมจะเป็นไก่เชิง มุด มัด กัดตีไม่เลือก มีทั้งวิ่งจุ่มหน้ากระเพาะเจอตรงไหนตีตรงนั้นชนิดปากถึงตีนถึง หรือ
บางตัวอาจวิ่งดันพาดบน กัดบ่าตีตัวตีซอก ตีหนักหน่วง ถอนขนจัด ไก่ป่าก๋อยเวลาเข้าทำจะเข้าหัวต่ำ หัวแทบติดพื้นทำให้สามารถ
หลบแข้งหน้าของไก่ชนพม่าได้ จึงได้ถูกขนาน นามว่า"มือปราบพม่า"
เพราะมันเป็นไก่ปากบอน จิกไม่เลือกที่ตีไม่รอท่าไม่สนใจหาหัวไก่เจอบ่าเจอหลังเจอไหล่เป็นต้องคาบตีทันที ก้าบตีหัวตีตัวตี
หลังแม้กระทั่งสีข้าง และตูดถ้าเข้าไม่ทันก็เสร็จไก่พม่า ถ้าเข้าทันก็เสร็จไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่มีลีลาการชนที่ดุดัน รวดเร็ว ว่องไว ปากถึงตีนถึงเรียกว่าปากแตะเป็นบินวิ่งมุดเข้าปีกซ้ายปีกขวา ประชิดตัวคู่
ต่อสู้ตลอดเวลา กัดไม่เลือกที่ตี ไม่รอท่าคว้าได้เป็นดีดตีตัว ตีซอก ตีหลัง ตีหัวแม้กระทั่งสีข้าง เป็นไก่ปากบอนฆ้อนหนัก ( ลำโต )
ค้าบถอนขนจัด ถ้าเจอไก่ที่ค้าบจัดๆ แค่อันแรกคู่ต่อสู้ก็ขนกระจุยแล้ว
จุดเด่นของไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่เชิงจัด ลีลาแพรวพราวลื่นไหลไม่สะดุด
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่มีความรวดเร็ว คล่องแคล่วเข้าทำเชิงได้ดี
ไก่ป่าก๋อย เป็นไก่ที่ตีแผลตัว แผลสามเหลี่ยมได้ดี
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ที่เบียด ดัน มุด มัด ประชิดตัวคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ค้าบจัด กัดตีไม่เลือกที่ซึ่งเป็นจุดเด่นพิเศษของไก่ป่าก๋อยอย่างแท้จริง
จุดอ่อนของไก่ป่าก๋อย
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่เชิงล่าง ชนหัวต่ำ ถ้าเดินไม่เร็วเลี้ยงไม่แข็งจะกลายเป็นเป้าให้คู่ต่อสู้ที่ตีตีนเตี้ยเก่งๆ
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่เชิงจัดจึงต้องใช้แรงมากในการเข้าทำเชิงเพราะต้องเข้าทำเร็วถ้าแรงหมดก็จะไม่สามารถบดบี้ ตีคู่ต่อสู้ได้
ไก่ป่าก๋อยเป็นไก่ที่ตีไม่เลือกที่ หรือตีหลายแผล ตีแบบสะสมไปเรื่อย ไม่เน้นแผลเดียว ส่วนใหญ่ตีแผลหนา ทำให้น๊อคคู่ต่อสู้ได้ช้า
การทำไก่เหล่าป่าก๋อยรอยโต
เนื่องจากไก่เหล่าป่าก๋อยเป็นไก่ขนาดเล็ก รูปร่างเตี้ยล่ำ น้ำหนักราว 2.2 - 2.9 ก.ก. จากข้อจำกัดในเรื่องขนาด ทำให้ไก่ไทย
ภาคเหนือ สายพันธุ์นี้ ไม่สามารถนำไปตีในภาคอื่นได้
การที่จะทำให้ไก่เหล่าป่าก๋อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและเก่ง สามารถทำได้ดังนี้
Bitmap
เลือกแม่พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ โครงสร้างดี จับยาวสองท่อน เลือกได้ใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี เพราะแม่ใหญ่ให้ลูกใหญ่แน่นอน

Bitmap
พ่อพันธุ์ไม่จำเป็นต้องใหญ่ ให้เลือกเอาตัวที่ฝีตีนจัดจริงๆ เชิงและแผลตีควรเป็นเชิงเดียวกับตัวเมียที่เราจะผสมด้วย (พ่อเล็กแม่
ใหญ่ สามารถให้ลูกใหญ่ได้ เทคนิคนี้ใช้กันแพร่หลายตามฟาร์มไก่เหล่าป่าก๋อยและไก่พม่า) สาเหตุที่ไม่เลือกพ่อพันธุ์ที่มีขนาด
ใหญ่เพราะ ไก่เหล่าป่าก๋อยรอยใหญ่ฝีตีนจะไม่ค่อยจัดเท่าไก่เหล่าป่าก๋อยรอยเล็ก และหลายคนเชื่อว่าไก่เหล่าป่าก๋อยตอนหนุ่มที่
มีขนาดเกิน 3 ก.ก. จะให้ลูกไม่ค่อยเก่ง ไม่ควรนำมาเป็นพ่อพันธุ์
Bitmap
ลูกไก่แรกเกิดถึง 2 เดือน ควรให้หัวอาหารหมูอ่อนผสมกับปลายข้าว

Bitmap
ลูกไก่อายุ 2 เดือน ถึง 5 เดือน ควรให้หัวอาหารหมูอ่อนผสมข้าวกล้องและข้าวเปลือก หลังจาก 5 เดือนไปแล้วต้องงดให้หัว
อาหารหมูอ่อน เพราะจะทำให้ลูกไก่อ้วนเกินไปและอาจจะขาอ่อนได้

Bitmap
ลูกไก่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรให้หัวอาหารไก่ชนผสมข้าวเปลือกและข้าวกล้องในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
รับรองว่าได้ไก่เหล่าป่าก๋อยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแน่นอน
การให้หัวอาหารหมูอ่อนและอาหารไก่ชนบางคนอาจกลัวว่าจะทำให้ไก่ขาอ่อน ถ้าเราให้ในปริมาณที่พอเหมาะ ให้ไม่
เกิน 5 เดือนและมีส่วนผสมของข้าวเปลือกและข้าวกล้องปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (ไม่ขังไก่) รับรองครับว่าไม่เสียไก่แน่นอน
ถ้าจะมีอาการก็แค่ปล้ำครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้นก็ปกติครับ
การเลี้ยงไก่เหล่าป่าก๋อยออกชน
ไก่เหล่าป่าก๋อยพอเริ่มหนุ่มให้เน้นการปล้ำเป็นหลัก ปล้ำไปเรื่อยๆ ให้แข็ง เพราะไก่เหล่าป่าก๋อยต้องใช้แรงเยอะ ทั้งเบียดทั้งยัด
หรือบางครั้งต้องลงแบก ดั้ม ถ้าเลี้ยงไม่แข็งโอกาสหมดแรงก็มีเยอะ ต้องปล้ำให้ได้หน้าอย่างน้อย 10 อัน ถึงจะเลี้ยงออกชนได้
การเลี้ยงต้องเลี้ยงเป็นเดือน เน้นการลงนวมสลับกับการล่อวิ่ง ไก่หนุ่มก็ลงนวม 10 นาที แล้วให้วิ่งสุ่ม ถ้าเป็นไก่ถ่ายก็ลงนวม 10
นาที 2 ยก แล้วให้วิ่งสุ่ม วันต่อมาก็ให้ล่อวิ่งประมาณ 30 นาที แล้วให้วิ่งสุ่ม ทำอย่างนี้สลับกันจนใกล้วันออกชนก็ให้ไก่พักประ
มาณ 3 วันเพื่อให้ไก่ได้ผ่อนคลาย หลังจากนั้นก็เอาไก่ออกชนได้เลย
ลักษณะไก่เหล่าป่าก๋อยของจริง
ไก่เหล่าป่าก๋อยมีสีที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ คือ มีลักษณะสีเลา ต้องมีเลาขาวแซมตามสร้อย หางขาว เช่น เหลืองเลาหางขาว
เขียวเลาหางขาว เป็นต้น มีกระขาวแซมตามหัวและส่วนต่างๆ บางตัวได้ลักษณะพระเจ้า 5 พระองค์ คือ มีจุดขาว 5 ตำแหน่ง
หัว 1 ปีก 2 ข้อขา 2

ไก่ขาว - ขาวชี

ประวัติความเป็นมา เป็นไก่ขนสีขาวปลอดทั้งตัว เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์จากไก่พื้นเมืองไทยเลาหางขาว เมื่อนำพ่อพันธุ์ขนสีขาวผสมกับแม่พันธุ์ขนสีขาว ลูกที่ได้ขนสีขาวสวยงาม เป็นไก่พื้นเมืองไทยที่เรียกขานกันว่า “ไก่ชี” ไม่ปรากฏว่าเป็นไก่ที่สำคัญของบุคคลใดในประวัติศาสตร์
แหล่งกำเนิด พบได้ทั่วไปทั้งบริเวณภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ภาคกลางแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบุรี และภาคตะวันออกแถบจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ระยอง และจันทบุรี ประเภท ไก่ชี เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ประมาณ 3.00 – 3.50 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล ลักษณะลูกไก่ ขน ปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลือง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ ไก่ชี เป็นไก่สูงใหญ่สง่างาม ไหล่กว้าง ลำตัวยาวจับ 2 ท่อน อกกว้าง บั้นท้ายกว้าง กระดูกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ยาวแข็งแรง แข้งกลม หางยาว สง่างาม
ปีก ปีกใหญ่ ยาวถึงก้น สีขาวตลอด
ใบหน้า แหลม เกลี้ยงเกลาและกลมกลึงแบบหน้านกยูง
ตะเกียบ แข็งแรงและชิด ปลายโค้งเข้าหากัน
ปาก ใหญ่ งองุ้ม มีร่องปาก สีขาวอมเหลือง
หาง หางพัดยาว เรียงเป็นระเบียบจากล่างขึ้นบนทั้งสองข้างเท่ากัน หางกระรวยยาวพุ่ง ตรงปลายโค้งลงเล็กน้อยจรดพื้น รับกับพวงหางเป็นฟ่อน
จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
แข้งขา บั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งยาว เล็กกลมแบบลำหวาย
ตา ขอบตารูปตัววี ดวงตาสีเหลือง
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้ง เรียงกันเป็นระเบียบ สีขาวอมเหลืองรับกับปาก
หงอน หงอนหิน ท้ายหงอนกดกระหม่อม สีแดงสดใส
นิ้ว นิ้วกลมยาว ปลายเรียว มีท้องปลิงชัดเจน
หู ตุ้มหู รูหูกลมมีขนปิดหูสีขาว ตุ้มหูรัดตึงสีแดงสด
เดือย โคนใหญ่มั่นคง สีรับกับปากและแข้ง
หนียง รัดติดกับคาง สีแดงสดใส
ขน ขนลำตัว และใต้ปีกสั้นแน่น สร้อยคอ สร้อยปีก และสร้อยหลัง ละเอียดปลายแหลมเล็กสีขาวตลอด
กระโหลก กลมกลึงยาวสองตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนหลัง มีรอยไขหัวตามชาติชัดเจน
กริยาท่าทาง ไก่ชี เป็นไก่สวยงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง ท่าทางก็เฉกเช่นไก่ชนทั่วไป องอาจ สง่างาม ยืนตรง อกตั้งหางพุ่ง
คอ คอใหญ่ ยาวมั่วคง กระดูกปล้องคอถี่ ชิด แน่น ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่า
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ลักษณะเช่นเดียวกับไก่ชนเพศเมียทั่วไป แต่มีขนสีขาวตลอดทั้งตัว

นกแดงหางแดง

ประวัติความเป็นมา ตามประวัติ ไก่นกแดงของพระยาศรีไสยณรงค์ ชนมา 6 ครั้ง ไม่เคยแพ้ใคร ทำให้เจ้าของสายพันธุ์ (ขุนฤทธิ์ปูพ่าย) สมัยเป็นทหารในสมเด็จพระมหินทราธิราชได้กินเหล้า จนเกิดอาการมึนเมา แล้วท้าสู้กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยไม่รู้จักกันมาก่อน ต่อมาภายหลังได้มาเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แหล่งกำเนิด สายพันธุ์ไก่นกแดงเป็นไก่พันธุ์แท้ มีอยู่ทั่วไปในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสยณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึก หรือพระยาไชยบูลย์ ผู้น้ำไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงไก่นกแดงจะพบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และพัทลุง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ลำตัวกลม ไหล่หนา และใหญ่ หางทรงฟ่อนข้าวหรือทรงหางม้า
ปีก ปีกใหญ่ ยาว เป็นลอนเดียว ไม่โหว่แบ่งสองตอน ขนปีกสีแดง สร้อยปีสีแดงสดสีเดียวกับสร้อยคอ และสร้อยหลัง
ใบหน้า กลมกลึง แบบหน้านกกา
หาง หางพัด หางกระรวย ก้านหางสีแดง หางเป็นรูปหางม้า
ปาก ปากใหญ่ โคนปากมั่นคง มีร่องน้ำ 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย
กระปุกน้ำมัน กระปุกน้ำมันเดี่ยว
จมูก จมูกสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งเรียกกลมแบบลำเทียน ขนปั้นขาสีแดงแข้งสีเหลืองอมแดงรับกับสีปาก
ตา ขอบตา 2 ชั้น แบบตาวัว ดวงตาแจ่มใส สีแดง มีเส้นเลือดในดวงตาเห็นชัดเจน
เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว สีเหลืองอมแดง เป็นเกล็ดปัดตลอด
หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก โค้งกลางกระหม่อม
นิ้ว นิ้วเรียว ยาว เกล็ดนิ้วสีเหลืองออมแดงรับกับสีแข้ง
หู ตุ้มหู ตุ้มหูตัดไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีแดง สีเดียวกับสร้อยคอ
เดือย เป็นเดือยงาช้าง สีเหลืองอมแดงรับกับปาก และแข้ง
กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวเห็นชัดเจน
ขน ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ก้านขนสีแดง
คอ คอเป็นรูปคอม้า ปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอสีแดง รับกับสร้อยหลังและสร้อยปีก
กริยาท่าทาง ไก่นกแดงเป็นไก่สกุลเดียวกับไก่ทองแดง ไก่นกกด มองไกลๆ คล้ายกัน เป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง ทาทางสง่างาม มีชั้นเชิงดี
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย ขนบริเวณลำตัวมีสีแดงเหมือนตัวผู้เพียงแต่สีไม่แดงเข้มเท่า ปาก แข้ง เล็บสีเหลืองอมแดงเหมือนตัวผู้
สายพันธุ์ไก่นกแดงมี 4 สายพันธุ์ คือ 1.1.แดงชาด เป็นสีแดงเข้มหรือแดงนกแก่ดั่งสีชาด ขนพื้นลำตัว ตั้งแต่หน้าอก ท้องใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดงเข้ม ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงเข้มเหมือนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงเข้มสดใส เป็นมัน ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.2.แดงทับทิม เป็นสีแดงสดใส สีอ่อนกว่าสีแดงชาด ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอ ใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยเป็นสีแดงแบบสีพื้นลำตัว สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงสดใสขึ้นเงา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.3.แดงเพลิง หรือ บางแห่งเรียก แดงตะวัน เป็นสีอ่อนกว่าแดงทับทิม สีจะไปทางสีแสดหรือสีแดงอมเหลือง ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงแบบขนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูมีสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
1.4.แดงนาก เป็นสีแดงคล้ำๆ แบบสีตัวนาก ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดงนาก ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดง ปาก แข้ง เดือยสีเหลืองอมแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีแดงออกมัน ตาสีแดง